ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรควรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับวรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่งแต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ | กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง |
คำท้ายวรรครับ | กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรครอง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรคส่ง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
๓. สัมผัส ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
๓.๑ คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
๓.๒ คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข้อสังเกต กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือจะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่นทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอนตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้กลอนหก ยกให้ คู่สองหาคำ งดงาม ทำนองสอดคล้อง ขานรับ จับวาง
หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรักอกหัก รักจาก ถากถางโศกเศร้า เว้าวอน สอนพลางหลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน
ระวัง กลอนพา วารีน้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอนคัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอนตรวจย้อน อักขระ วิธี
ได้ผล กลอนหก ยกนิ้วยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนีเนื้อหา ทำไม อย่างนี้เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
Comments