ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (คณะของโคลงสี่สุภาพ)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ – ๓ มี ๒ พยางค์บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และ โทโทษ
คำตาย คือ๑) คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โป๊ะ ฯลฯ๒) คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ คำเอกคำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกโทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตามเช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน
คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท “โคลง” และ “ร่าย”และถือว่าเป็นข้อบังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า “โทโทษ”ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า “เอกโทษ”เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ
Comments