คำซ้อน คือ การนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือคล้ายกันมาซ้อนกันตั้งแต่๒ คำขึ้นไปเช่น กักขัง นุ่มนิ่ม ใหญ่โต หรือการนำคำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาซ้อนกัน เช่น ผิดชอบ ชั่วดี สูงต่ำ
1.ชนิดของคำซ้อน คำซ้อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1.1 คำซ้อนที่มีความหมายอยู่ที่คำหน้า ส่วนคำหลังที่นำมาซ้อนนั้นเป็นเหมือนคำสร้อย เช่นใจคอ, ประเทศชาติ, หัวหู เป็นต้น คำที่นำมาซ้อนนั้นมีความหมายไม่เหมือนกันจึงไม่สามารถนำไปใช้แทนกันได้
1.2 คำซ้อนที่มีความหมายอยู่ที่คำหลัง ส่วนคำหน้าเป็นเหมือนคำที่มาเสริมความหมายแต่มีความหมายไม่เหมือนกัน เช่น แข้งขา, บาดแผล, เท็จจริง เป็นต้น
1.3 คำซ้อนที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม คำซ้อนชนิดนี้จะมีความหมายเฉพาะแตกต่างไปจากเดิม เช่น จัดจ้าน, อดทน, หลับใหล เป็นต้น
2. ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน
2.1 คำซ้อนในภาษาไทยมักจะมีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน ซึ่งเป็นการซ้อนเพื่อเสียงหรืออาจจะเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น ถกเถียง, เบิกบาน, ส่งเสริม เป็นต้น
2.2 คำซ้อน๔ พยางค์ อาจจะมีพยางค์ที่ ๑ กับพยางค์ที่ ๓ ใช้คำเดียวกัน เช่น อ่อนอก อ่อนใจ, หัวจิตหัวใจ, ห้องน้ำห้องท่า เป็นต้น หรืออาจจะเป็นพยางค์ที่๒ กับพยางค์ที่๔เช่น คิดดีทำดี, คิดใหม่ทำใหม่, กงเกวียนกำเกวียน เป็นต้น
2.3 คำซ้อนบางคำจะใช้ในการอธิบายความหมายของภาษาถิ่นที่มาซ้อน เช่น เสื่อสาด = เสื่อ (สาด เป็นภาษาถิ่นแปลว่า เสื่อ เหมือนกัน), พัดวี = พัด (วี เป็นภาษาถิ่นแปลว่า พัด
เหมือนกัน), อิดโรย = เหนื่อย (อิด เป็นภาษาถิ่นแปลว่า เหนื่อย เหมือนกัน)
2.4 คำซ้อนบางคำเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายเพื่อให้ความหมายชัดเจนขึ้น เช่น เสื้อผ้า ข้าวปลา ฆ่าฟัน เป็นต้น
Comments