top of page
Writer's picture

คำสมาสและคำสนธิ

Updated: Dec 13, 2023

คำสมาสและคำสนธิ

1. คำสมาสหรือการสมาสคำ คือ วิธีการสร้างคำในภาษาบาลีสันสกฤตที่ภาษาไทยนำมาใช้ดังนั้นคำสมาสจึงเกิดจากการนำคำบาลีสันสกฤตมาประกอบกัน เกิดคำและความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิม

  • คำสมาสจะต้องเป็นคำบาลีสันสกฤตเท่านั้นเช่น เทว + รูป = เทวรูป่

  • ถ้ามีคำใดคำหนึ่งเป็นคำไทยจะไม่นับเป็นคำสมาสเช่น เทพ + เจ้า = เทพเจ้า (เจ้า เป็นคำไทย)

  • การอ่านคำสมาสจะต้องอ่านคำหน้ากับคำหลังต่อเนื่องกันถึงแม้จะไม่มีสระกำกับเช่น อนุชน อ่านว่า อะ -นุ- ชน มิตรสหาย อ่านว่า มิด - สะ - หาย

  • คำสมาสจะต้องแปลความหมายจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น เบญจศีล = ศีล ๕ เหมันตฤดู = ฤดูหนาว สมุทรเจดีย์ = เจดีย์ที่ตั้งอยู่กลางน้ำ

  • แต่ถ้าไม่สามารถแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า ไม่นับเป็นคำสมาสเช่น ประวัติวรรณคดี = ประวัติของวรรณคดี

  • คำสมาสจะต้องไม่มีการประวิสรรชนีย์หรือมีการันต์ ระหว่างคำเช่น กิจจะลักษณะ, ทรัพย์สมบัติ

  • ถ้าคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ตามหลังคำบาลีสันสกฤต จะนับเป็นคำสมาสเช่น เศรษฐศาสตร์, วจีกรรม, วาตภัย, สุขภาพ เป็นต้น

2. คำสนธิหรือการสนธิ คือ การนำคำ ๒ คำมาเชื่อมกันโดยระหว่างคำหน้ากับคำหลังมีการกลมกลืนเสียง คำสนธิในภาษาไทยจะต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น

  • สระสนธิ คือ การเชื่อมคำ ๒ คำโดยมีการเปลี่ยนแปลงสระระหว่างคำเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ เช่น

  • ถ้าคำหน้ามีสระอยู่พยางค์ท้ายสนธิกับคำหลังที่มีสระอยู่พยางค์แรก จะตัดสระที่คำหน้าแต่จะใช้สระคำท้ายแทน เช่น ราช + อานุภาพ = ราชานุภาพ

  • ถ้าคำหลังที่นำมาสนธิเป็นสระ อะ อิ ให้เปลี่ยน ดังนี้อะ เปลี่ยนเป็น อา เช่น รัตน + อธิเบศร = รัตนาธิเบศร อิ เปลี่ยนเป็น เอ เช่น นร + อิศวร = นเรศวร

  • ถ้าพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นสระ อิ อี หรือ อุ อู ให้เปลี่ยน ดังนี้อิ อี เปลี่ยนเป็น ย เช่น สิริ + อากร = สิรยากร อุ อู เปลี่ยนเป็น ว เช่น ธนู + อาคม = ธันวาคม

  • พยัญชนะสนธิ คือ การนำพยัญชนะสนธิมาใช้ในภาษาไทยโดยการเปลี่ยนพยัญชนะบางตัวเช่น ตัด ส ออก แล้วใส่ โอ แทน เช่น มนสฺ + รมย = มโนรมย์เปลี่ยนพยัญชนะ ส เป็น ร เช่น นิสฺ + ภัย = นิรภัย

  • นฤคหิตสนธิ คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วยนฤคหิตมาสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและสระ แล้วมีการเปลี่ยนนฤคหิต ดังนี้

  • นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ม เช่น ส์ + อาคม = สมาคม

  • นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จะ ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ตัวสุดท้ายของวรรค ดังนี้

  • นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (ย ร ล ว ส ศ ษ ห ฬ) ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ง เช่น สํ + สาร = สงสาร

13 views

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page