top of page
Writer's picture

การตอบคำถามจากการอ่าน



การตอบคำถามจากการอ่านวรรณคดี

1. อ่านอย่างพินิจพิจารณ คือ การอ่านโดยใช้การวิเคราะห์ อ่านตั้งแต่ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง คำนำ คำนิยม สารบัญ ไปจนถึงเนื้อหาและบรรณานุกรม รวมถึงประวัติของผู้เขียนซึ่งจะทำให้เข้าใจเนื้อหา มูลเหตุของการแต่ง แรงบันดาลในการแต่งและสิ่งที่แฝงเร้นภายในหนังสือ

2. ค้นหาความหมาย ความหมายมี ๒ ลักษณะ คือ ความหมายพื้นฐาน คือความหมายตามตัวอักษร และความหมายแฝงเร้น ผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากข้อความที่ผู้แต่งได้แฝงเร้นเอาไว้ โดยแลกเปลี่ยนกับผู้รู้หรือผู้ที่อ่านวรรณคดีเรื่องเดียวกัน แล้วจัดลำดับใจความสำคัญของเรื่องว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน ผลเป็นอย่างไร

3. รับรู้อารมณ์ของบทประพันธ์ คือการพยายามรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนที่สอดแทรกลงไปในบทประพันธ์นั้น ถ้าผู้อ่านรับรู้อารมณ์ความรู้สึกตามเจตนาของผู้ส่งสาร เมื่ออ่านออกเสียงหรืออ่านทำนองเสนาะจะทำให้บทประพันธ์นั้นมีความไพเราะมากขึ้น

4. การค้นหาความหมายของบทประพันธ์

4.1 ค้นหาความหมายตามตัวหนังสือ คือ คำใดที่ไม่เข้าใจความหมายให้ค้นหาในคำอธิบายศัพท์พจนานุกรมหรืออภิธานศัพท์

4.2 ค้นหาความหมายแฝง ความหมายแฝงคือ ความหมายที่ต้องตีความซึ่งผู้แต่งใช้สัญลักษณ์เพื่อเสนอสารอันเป็นความหลักของผู้แต่ง

4.3 ค้นหาข้อคิดที่เป็นประโยชน์ในตัวบทวรรณคดี กล่าวคือ การค้นหาความรู้สึกของผู้แต่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับความรู้สึกของผู้อ่าน แต่ผู้อ่านรู้สึกอย่างนั้นเพราะมีเหตุผลอย่างไรและมีคำใดที่บ่งชี้ให้ผู้อ่านคิดอย่างนั้น

5. พิจารณาว่าผู้แต่งใช้กลวิธีใดในการแต่งคำประพันธ์ สามารถค้นหาจากการสร้างสรรค์ของกวีดังนี้

5.1 การใช้บรรยายโวหาร คือการใช้คำอธิบายเรื่องราวรายละเอียดให้เข้าใจตามลำดับเหตุการณ์

5.2 การใช้พรรณนาโวหาร คือ การอธิบายความหมายโดยสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึก หรือให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้งของผู้แต่งลงไปในเรื่องนั้นๆ ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจคล้อยตามไปกับบทประพันธ์

5.3 การใช้เทศนาโวหาร คือ การกล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ

5.4 การใช้สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างหรือเรื่องราวมาประกอบเพื่อเพิ่มรายละเอียดหรือส่งที่น่ารู้น่าสนใจลงไปในข้อความทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

5.5 การใช้อุปมาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ มักใช้คู่กับอุปไมย อุปมาเป็นสิ่งที่ยกข้อความมาเปรียบ ส่วน อุปไมย คือ ข้อความที่เปรียบกับสิ่งอื่นให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

6. พิจารณาความงามและความไพเราะของภาษา คือ พิจารณาการเลือกใช้คำ การสรรคำและการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้ต่อเนื่องไพเราะเหมาะสมได้จังหวะถูกต้องตามโครงสร้างภาษา ก่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์และเห็นภาพพจน์

8 views

Recent Posts

See All

コメント


bottom of page