การใช้คำและประโยค
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมาก ผู้ส่งสารที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีความสามารถ มีทักษะการใช้ภาษาอย่างดี สามารถใช้คำและสร้างประโยคได้อย่างชัดเจน รู้จักเลือกถ้อยคำอย่างถูกต้องเหมาะสม เรียบเรียงคำเข้าประโยค เพื่อสื่อความหมายได้ถูกต้อง ตรง และน่าอ่าน ผู้ส่งสารจึงต้องคำนึงถึงการเลือกใช้คำ และการสร้างประโยคที่ดีเสมอ
2.1 หลักการใช้คำ สมพันธุ์ เลขะพันธุ์ (2537, น. 10-13) ได้กล่าวถึงหลักการใช้คำไว้ 4 ประการดังนี้
เลือกคำตรงความหมาย
เลือกคำตรงความนิยม ตรงหลักภาษา
เลือกใช้คำตามโอกาส
เลือกคำที่ให้เกียรติผู้อ่าน
2.1.1 เลือกคำตรงความหมาย ผู้เขียนที่ดีต้องรู้จกเลือกคำมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะคำในภาษาไทยมีความหมายหลายลักษณะ เช่น ความหมายตรง ความหมายโดยนัย ความหมายแฝง ความหมายเปรียบ ความหมายสำนวน ความหมายสัญลักษณ์ และความหมายศัพท์บัญญัติ
คำมีความหมายลักษณะใดก็ตาม เป็นคำที่อาจนำมาใช้เขียนได้ทั้งสิ้น สำคัญอยู่ที่ผู้เขียนต้องทราบความหมาย และใช้ให้ตรงความหมายของคำคำนั้น
2.1.2 เลือกคำตรงความนิยม ตรงหลักภาษาภาษาเป็นสมบัติของสังคม จำเป็นที่ผู้ใช้ภาษาต้องใช้ให้สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้น และในขณะเดียวกัน ภาษาก็ต้องมีระบบหรือหลักเกณฑ์การใช้ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความนิยม และกฎเกณฑ์ทางหลักภาษาไปพร้อมๆ กัน
การใช้คำให้ตรงตามความนิยม ได้แก่ การใช้คำที่คนส่วนใหญ่ในสมัยนั้นทราบความหมาย ไม่ใช้คำภาษาโบราณ คำภาษาถิ่นที่ไม่ใช่ภาษากลาง ไม่ใช้คำที่ผู้เขียนคิดขึ้นเอง หรือ บัญญัติขึ้นเอง
2.1.3 เลือกใช้คำตามโอกาส คำไทยมีหลายระดับ อาจแบ่งอย่างง่ายๆ ได้ 3 ระดับคือ
ภาษาปาก (Vulgarism) ได้แก่ คำที่ใช้สื่อสารกัน โดยไม่คำนึงถึงตัวอักษรที่เขียนเป็นคำ มักออกเสียงตามใจชอบ เพียงเพื่อสื่อความหมายได้เท่านั้น รวมถึงคำที่ตัด หรือ ย่อให้สั้น สะดวกต่อการออกเสียง คำล้อเลียน คำเฉพาะกลุ่ม (สแลง) คำหยาบคาย และคำทับศัพท์ต่างประเทศ โดยไม่จำเป็น
ภาษากึ่งแบบแผน (Informal Language) ได้แก่ คำที่ผู้ใช้ภาษาเลือกใช้อย่าง พิถีพิถันเพิ่มขึ้นอิงกฎเกณฑ์ทางภาษาบ้าง ทำให้เป็นถ้อยคำที่มีหลักเกณฑ์การใช้ มีการสะกดการันต์ถูกต้อง แต่ยังเป็นคำพื้นๆ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจได้ เป็นคำที่แสดงความคุ้นเคยเป็น กันเอง ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน ลักษณะสำคัญของภาษากึ่งแบบแผน
2.1 ใช้ภาษาสุภาพที่พูดกันอยู่ในชีวิตประจำวันทั่วไป
2.2 อาจใช้คำย่อได้ แต่เป็นคำย่อที่ยอมรับโดยทั่วไปเป็นสากล
2.3 รูปประโยคอาจตัดทอนได้ แต่สื่อความหมายได้ชัดเจนสมบูรณ์
2.4 น้ำเสียงของข้อเขียน ไม่เคร่งขรึมเอาการเอางาน อาจมียั่วล้อและแทรกอารมณ์ขันไว้
2.5 การใช้โวหาร มีสำนวนเฉพาะตัวให้เห็นความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงทรรศนะหรืออารมณ์ได้มาก ค่อนข้างรุนแรงแต่ไม่หยาบคาย
3. ภาษาแบบแผน (Formal Language) คือคำที่กลั่นกรองใช้อย่างพิถีพิถันให้ถูกต้องตามหลักภาษาทุกประการ ทั้งถ้อยคำ สำนวนโวหาร การเรียงคำในประโยค เป็นการ ส่งสารโดยการเขียนอย่างเป็นทางการสำหรับงานพิธีการ ลักษณะสำคัญของภาษาแบบแผนมีดังนี้
ใช้ภาษาหรือข้อความที่สุภาพหรือศัพท์บัญญัติ ที่เป็นที่ยอมรับกัน
ใช้คำเต็ม ไม่ใช้คำย่อ เช่น ตำแหน่งบุคคล ยศ คำนำหน้าหรือคำย่ออื่นๆ
ใช้ภาษาระดับเดียวกัน ไม่นำภาษาระดับอื่นมาปะปน
เขียนเป็นรูปประโยคที่สมบูรณ์
คำที่ใช้ไม่แสดงถึงอารมณ์รุนแรง การโต้แย้ง และสำนวนโวหาร
น้ำเสียงของข้อเขียนมีลักษณะเคร่งขรึม เป็นกลางคำทั้ง 3 ระดับที่กล่าวมานั้น เป็นคำที่มีคุณภาพในการสื่อสารทั้งสิ้น ทั้งการสื่อสารโดย วิธีพูด และโดยวิธีเขียน ผู้เขียนจะนำคำระดับใดระดับหนึ่งมาใช้ก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องใช้แต่ถ้อยคำระดับกึ่งแบบแผน และระดับแบบแผนเท่านั้น แต่การนำมาใช้ ผู้เขียนต้องเลือกให้เหมาะสมกับโอกาสในการเขียน เมื่อเลือกภาษาระดับใดระดับหนึ่ง ในแต่ละโอกาสแล้วก็ควรใช้คำภาษาระดับนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ควรใช้คำต่างระดับปะปนกันในการเขียนแต่ละโอกาสการให้เกียรติผู้อ่านเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับการเขียน เพราะการสร้างความรู้สึก
ที่ดีต่อผู้อ่าน ย่อมเป็นหนทางเบื้องต้นที่จะสื่อสารซึ่งกันและกัน
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การใช้คำมีความสำคัญมาก ที่จะช่วยให้การสื่อความหมาย ชัดเจน ง่ายแก่การเข้าใจ ผู้ที่รู้คำมากและรู้จริง ย่อมสามารถเลือกคำใช้คำในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ซึ่งควรใช้คำอย่างประหยัด ตรงความหมาย มีน้ำหนัก มีความไพเราะเหมาะสม และมีความชัดเจน
2.1.4 เลือกคำที่ให้เกียรติผู้อ่าน
ผู้เขียนควรเลือกคำ ที่ผู้อ่านพอใจ หรือคำที่ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระเทือนใจต่อ ผู้อ่าน ผู้เขียนควรงดใช้คำประเภท ประชด เหน็บแนม ยั่วล้อ เสียดสี ที่กระทบกระเทือนใจผู้อ่าน ต้องหลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายเชิงข่ม เหยียดหยาม ชี้ปมด้อย หรือคำหยาบคายการเลี่ยงความหมายของคำเหล่านี้ ผู้เขียนอาจเลือกคำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาใช้แทน เป็นการลดความรุนแรง
การใช้คำสรรพนามให้เหมาะสม ก็นับเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อ่านด้วย การใช้คำสรรพนามแทนตัวผู้เขียนและแทนตัวผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาส
การเลือกใช้คำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ได้งานเขียนที่ดี มีคุณภาพ และเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร บุปผา บุญทิพย์ (2530, น. 37-38) และ เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2534, น. 20-21) ได้กล่าวถึงหลักการใช้คำไว้สรุปได้ดังนี้
ควรเรียงลำดับคำหรือพยางค์ให้ถูกต้อง เพราะคำในภาษาไทย ถ้าสับคำหรือสับพยางค์ ความหมายของคำก็จะเปลี่ยนไปได้
ใช้คำให้ถูกต้องตามตำแหน่งหน้าที่ของคำ คำแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรนั้น ผู้เขียน ต้องรู้จักว่าจะใช้คำใด เมื่อใด อยู่ตรงส่วนใดของประโยค
ต้องรู้จักเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะ และตรงตามความหมาย ซึ่งภาษาไทย มีคำมาก ที่มีความหมายคล้ายกัน ฉะนั้นเวลาเขียนจึงต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้คำด้วย
ควรใช้คำที่ใช้กันโดยทั่วไป ไม่ใช้คำที่ตายแล้ว
ศักดิ์และระดับของคำ ควรใช้ให้ถูกต้องในแนวเดียวกัน
ไม่ควรใช้คำซ้ำซากและฟุ่มเฟือยเกินไป
ไม่ควรใช้คำภาษาต่างประเทศประโยชน์ของการเลือกใช้คำ
การเลือกใช้คำได้ดีและเหมาะสม ย่อมทำให้เกิดผลดี มีประโยชน์หลายประการ ดังที่ทัศพร เกตุถนอม (2542, น. 15) กล่าวไว้ดังนี้
ทำความเข้าใจกันได้ถูกต้อง ผู้ใช้คำย่อมต่างวัยต่างความรู้ และมีวงศัพท์คือ ความเข้าใจ ความหมายของคำต่างกัน หากใช้คำผิดระดับของผู้รับ ย่อมไม่เกิดผลดีคือ ผู้อ่านไม่เข้าใจความหมายของคำ
มีผลทางจิตวิทยา การใช้คำเหมาะสมกับผู้รับ ย่อมทำให้ผู้รับเกิดความสนิทสนม คุ้นเคย หรือเคารพเชื่อถือยำเกรงได้ทำให้เกิดความเหมาะสม และความสง่างามในสำนวนภาษา เช่น บทประพันธ์ของ นักเขียนที่มีชื่อเสียง
ทำให้เกิดความเหมาะสมในเรื่องมารยาท ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ ที่ระดับคำต่าง มีศักดิ์ สูง ต่ำ ต่างกัน การใช้คำกับบุคคลต่างๆ ย่อมต้องเลือกให้เหมาะสมกับระดับของ บุคคลด้วย มิฉะนั้นผู้พูดหรือผู้เขียนจะถูกตำหนิว่า ไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ เสียหายมาก
ทำให้การเขียนหรือถ้อยคำที่บันทึกไว้เป็นที่เข้าใจในช่วงเวลานาน การใช้คำเพื่อ บันทึกเรื่องราวไว้ ควรใช้ภาษาแบบแผน หรืออย่างน้อยก็ควรเป็นภาษากึ่งแบบแผน เพราะการบันทึกไว้ด้วยการเขียนเป็นของอยู่ถาวร หากใช้ภาษาปาก ที่มีคำแผลง คำสแลง ปนอยู่คำเหล่านี้เปลี่ยนแปลง และหมดความนิยมได้ง่าย เป็นเหตุให้ผู้อ่านรุ่นหลังไม่เข้าใจความหมายสำคัญที่ได้บันทึกไว้
2.2 หลักการสร้างประโยค
ประโยคในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน ซึ่งทัศพร เกตุถนอม (2542, น.
16-22) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้เขียนควรระมัดระวัง และพยายามสร้างประโยค โดยคำนึ่งถึงความสมบูรณ์ ถูกต้องและเหมาะสมดังต่อไปนี้
การลำดับคำ
การตกแต่งประโยค
การสะกดการันต์
การเขียนแยกคำ
การวางเครื่องหมายให้ถูกต้อง
การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
การผูกประโยค
2.2.1 การลำดับคำ
การลำดับคำเป็นการจัดระบบความคิด เพื่อสื่อความหมายของเรื่องราวให้ต่อเนื่อง กัน ควรยึดหลักดังนี้
1. ลำดับคำอย่างเหมาะสมชัดเจน เช่น เปิดประตูแล้วกรุณาปิดด้วย (ตรงตามความต้องการคือ เปิด-แล้ว-ปิด)
2. ใช้คำเท่าที่จำเป็นในการสื่อสาร หมายถึงเลือกใช้เฉพาะคำที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อให้ประโยคกระชับ คำที่มีความหมายช้ำซ้อน คำรุงรังให้ตัดทิ้งไป เช่น
อารยธรรมที่เจริญแล้ว ควรตัด ที่เจริญแล้ว (อารยะแปลว่าเจริญ)
อยู่ในระหว่างช่วงเวลาเปิดภาคเรียน ควรตัด ช่วงเวลา (ความหมายซ้ำ)
ข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติ ควรตัด ปฏิบัติ (ตัวแรก)
ผมไม่เคยคิดที่จะไม่เคารพครูอาจารย์ ควรใช้ ผมเคารพครูอาจารย์เสมอ (ควรใช้ประโยคบอกเล่าแทนการใช้คำปฏิเสธซ้อนกันซึ่งเข้าใจยาก)
3. ลำดับคำถูกต้อง การเรียงลำดับคำในประโยคควรเป็นดังนี้
วางคำขยายใกล้คำที่ถูกขยาย เช่น ที่นี่มีหมอรักษาตาฝรั่ง ควรเขียนเป็น ที่นี่มีหมอฝรั่งรักษาตา
วางคำที่สำคัญหรือมีน้ำหนักมากที่สุด หรือต้องการเน้นไว้ตอนท้ายของประโยคเช่น ขนมไหว้พระจันทร์มีขายที่นี่ ควรเขียนเป็น ที่นี่ขายขนมไหว้พระจันทร์ หรือกับข้าวอร่อยแต่เผ็ด เน้นที่เผ็ด
2.2.2 การตกแต่งประโยค
การตกแต่งประโยคจะช่วยให้ประโยคสละสลวยและน่าอ่าน ทำให้การสื่อสารได้ผล ดีมากขึ้น การตกแต่งประโยคมีหลายวิธีคือ
1. การใช้คำสรุปความ ก่อนเน้นคำสำคัญในตอนท้ายประโยค คำสรุปความคือคำที่รวมข้อความต่างๆ ในตอนต้นประโยคเข้าด้วยกัน เช่น คำว่า ล้วน ทั้งหมดนี้ นั้น ดังกล่าวนั้น เหล่านี้ ต่างก็ ทุกประการ ข้างต้นนี้ ฯลฯ
ตัวอย่างประโยค
หลักสูตรที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 นั้น ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ทุเรียน เงาะ ลำไย มังคุด และมะม่วง ล้วน เป็นสินค้าออกที่สำคัญการโกหก บิดเบือนข้อมูล พูดจาใส่ร้ายป้ายสี เหล่านี้ เป็นพฤติกรรมของคนไม่มีศีล
2. การใช้คำซ้ำ การใช้คำซ้ำซ้อนกัน 2 คำ ช่วยให้ประโยคมีความหนักแน่น เป็นการ ย้ำเจตนาของผู้เขียน
ตัวอย่างประโยค
นักศึกษาที่ดีจะต้องอ่าน อ่านหนังสือทุกประเภทให้มากที่สุดผมจะสู้ สู้เพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ได้สินค้าของเราเน้นที่คุณภาพ คุณภาพที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคนอกจากนี้ยังมีวิธีซ้ำโครงสร้างคือ ซ้ำรูปประโยค เพื่อเน้นความคิด
ตัวอย่างประโยค
สุโขทัยนี้ดี...ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ค้าเงินค้าทองค้า...
(จากรึกสุโขทัยหลักที่ 1)
ผมตั้งใจจะเรียนให้ดีที่สุด เรียนเพื่อตัวเอง เรียนเพื่อพ่อแม่ เรียนเพื่อวงศ์ตระกูลของเรา และเรียนเพื่อรับใช้สังคม
3. การใช้รูปประโยคแบบไทย ภาษาต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทย ทั้งการใช้คำและการเขียนประโยค ข้อเขียนที่ใช้รูปประโยคแบบภาษาต่างประเทศ จึงมีอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน การเขียนที่ดี จึงควรระมัดระวังเสมอ หลักสำคัญของรูปประโยคแบบไทย คือ ประธาน กริยา กรรมหรือส่วนเติมเต็ม
ตัวอย่างประโยค
ราคาสินค้าถูกควบคุมโดยรัฐบาล (รูปประโยคภาษาอังกฤษ ใช้กรรมขึ้นต้นประโยค)
รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า (รูปประโยคไทย ใช้ประธานขึ้นต้นประโยค)
ท่านพ่อเราเคารพมากที่สุด (รูปประโยคภาษาจีน ใช้กรรมขึ้นต้นประโยค)
เราเคารพคุณพ่อมากที่สุด (รูปประโยคไทย ใช้ประธานขึ้นต้นประโยค)
4. การเว้นวรรค คือการแยกประโยค 2 ประโยคออกจากกัน ทำให้สะดวกในการเว้นจังหวะการอ่าน และสะดวกในการจับใจความ
ตัวอย่างการเว้นวรรคที่ดี (บุญยงค์ เกศเทศ, 2534, น. 72-75)
• เว้นวรรคขนาบประโยค เช่น
"เมื่อเดือนพฤศจิกายน สิบหกปีมาแล้ว หนังสือพิมพ์สยามรัฐเพิ่งออกจำหน่ายได้ไม่นานนัก"
เว้นวรรคข้างหน้าอนุพากย์หลักที่มีคำเชื่อม และ หรือ นำหน้า เช่น
เว้นวรรคข้างหน้าอนุพากย์วิเศษณ์ ที่มีคำเชื่อม จึง เพราะ ดังนั้น นำหน้า เช่น
เว้นวรรคข้างหน้าอนุพากย์คุณศัพท์ ที่มีคำเชื่อม ที่ ซึ่ง อัน ผู้ นำหน้า เช่น
เว้นวรรคขนาบกลุ่มคำ ที่ต้องการเน้น เช่น
เว้นวรรคขนาบกลุ่มคำบอกตำแหน่ง เช่น
เว้นวรรคข้างหน้ากลุ่มคำบอกตำแหน่ง เช่น
เว้นวรรคขนาบกลุ่มคำบอกเวลา เช่น
เว้นวรรคขนาบกลุ่มคำบอกเวลาคุณศัพท์ เช่น ต่อมา บัดนี้ ในปัจจุบัน เช่น
เว้นวรรคขนาบรายการต่างๆ มีลักษณะเป็นกลุ่มคำ หรือคำที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เช่นทำหน้าที่เป็น ประธาน กริยา หรือกรรม ของประโยคเดียวกัน เช่น
เว้นวรรคข้างหลังหน่วยประธาน ที่เป็นกลุ่มคำ เช่น
เว้นวรรคข้างหลังหน่วยประธาน ที่เป็นชื่อคน เช่น
เว้นวรรคระหว่างหน่วยประธาน กริยา กรรม เช่น
เว้นวรรคขนาบคำจำนวนนับ เช่น
เว้นวรรคขนาบคำและหน้าคำลักษณนาม ซึ่งหมายถึงเฉพาะคำลักษณนาม ที่ตามหลังคำจำนวนนับเท่านั้น เช่น
เว้นวรรคขนาบคำและข้างหน้าคำบุพบท ณ เช่น
เว้นวรรคข้างหน้าคำบุพบท เพื่อ เช่น
เว้นวรรคข้างหน้าคำเชื่อมอนุพากย์ต่างๆ เช่น
เว้นวรรคขนาบคำกริยา คือ และข้างหน้าคำกริยา เป็น เช่น
"แต่การสร้างอีกลักษณะหนึ่งของมนุษย์ เป็นการสร้างใหม่ ที่ไม่เหมือนของเก่า"
• เว้นวรรคขนาบคำกริยา เช่น, ได้แก่ คำกริยา ได้แก่ สามารถตามหลังคำช่วยหน้ากริยาได้ เช่น คงจะได้แก่, น่าจะได้แก่, อาจจะได้แก่ และคำกริยา เช่น สามารถปรากฏแทนที่คำ ได้แก่ ได้ จึงอนุโลมให้ คำ เช่น เป็นคำกริยาด้วย
• เว้นวรรคข้างหลังคำเชื่อมอนุพากย์ ว่า เช่น"ได้กล่าวมาแล้วว่า ในโลกของธรรมชาติมีแผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ทะเล..."
2.2.3 การสะกดการันต์
การสื่อสารด้วยการเขียน หากผู้เขียนสะกดการันต์ผิดพลาด ย่อมเป็นโทษทั้งแก่ผู้อ่านและผู้เขียน กล่าวคือ ผู้อ่านอาจจดจำคำที่สะกดการันต์ผิดไปใช้ ส่วนผู้ที่มีความรู้จะ รู้สึกขัดตา หรือขาดศรัทธาต่อผู้เขียน ดังนั้นผู้เขียนควรตรวจสอบคำที่ถูกต้องจากพจนานุกรมเพื่อความแน่ใจก่อนเขียนเสมอ
2.2.4 การเขียนแยกคำ
คำบางคำมีหลายพยางค์ต้องเขียนติดต่อกันไปจึงจะได้ความชัดเจน ในกรณีที่มีเนื้อที่ในบรรทัดไม่พอ จำเป็นต้องแยกคำไว้ต่างบรรทัดควรทำอย่างมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (ชอุ่ม โชติทอง, 2533, น. 128)
ไม่แยกคำสนธิ เช่น ธันวาคม ราชูปถัมภ์ ศาสตราจารย์
ไม่แยก ชื่อ วัน เดือน ปี
ไม่แยกคำมูล เช่น ภาษา ปัญหา บรรดา บรรทัด ประเทศ
ไม่แยกชื่อสกุลสามัญของบุคคล เช่น สมหมาย ไพศาล
ไม่แยกคำที่กร่อนเสียง เช่น สะพาน ตะวัน มะม่วง
แยกคำสมาส คำประสม วลีได้โดยใช้เครื่องหมาย ยติภังค์ (-) เป็นตัวเชื่อม เช่นรถเร็ว น้ำปลา นครศรีธรรมราช (ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรแยก)
ถ้าจำเป็นต้องแยกคำ ก็อย่าให้เสียความ หรือทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายผิด เช่นคำต่าง-ประเทศ
ควรเขียนเป็น
คำ-ต่างประเทศ
การเขียนคำทับ-ศัพท์ดังกล่าว
ควรเขียนเป็น
การเขียน-คำทับศัพท์
มีราก-ขี้เหล็กทั้งห้า
ควรเขียนเป็น
มี-รากขี้เหล็กทั้งห้า
2.2.5 การวางเครื่องหมายให้ถูกต้อง
การเขียนเพื่อการสื่อสารจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเครื่องหมายต่างๆ ด้วย เครื่องหมาย ต่างๆ เช่น ไม้หันอากาศ วรรณยุกต์ ตัวการันต์ ไม้ยมก ไปยาลน้อย ฯลฯ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า วางได้ถูกต้องทุกครั้งที่เขียนข้อความ
2.2.6 การใช้เครื่องหมายวรรคตอนการเขียนภาษาไทยมักไม่ค่อยมีเครื่องหมายวรรคตอน เนื่องจากถ้อยคำที่ใช้สามารถ สื่อความหมายได้ชัดเจน ในกรณีที่ต้องใช้เครื่องหมายวรรคตอน ผู้เขียนควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง ไม่ควรนำเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการเขียน เช่น ลบ (-) เท่ากับ (=)
เพราะฉะนั้น (..) มาใช้ในการเขียนเรียงความ
2.2.7 การผูกประโยค
การนำคำต่างๆ มาเรียบเรียงกันเป็นประโยค ตามจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร หรือการผูกประโยคนั้น โครงสร้างทั่วไปของประโยคจะมี 2 ส่วนคือ ภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประกอบด้วย ประธาน (ผู้กระทำ) กริยา (อาการแสดง) กรรม (ผู้ถูกกระทำ) หรือ ส่วนเติมเต็ม (ถ้าเป็นกริยาที่ไม่ต้องการกรรม) และอาจจะมีส่วนขยาย เช่น ขยายประธานขยายกริยา และขยายกรรม เพื่อทำให้ประโยคชัดเจนมากขึ้น
โดยทั่วไปการผูกประโยคตามหลักภาษาไทย จะเรียงลำดับคือ ประธาน กริยา และกรรมเสมอ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องการจะเน้นคำบางคำ ก็อาจผูกประโยคโดยใช้คำที่ต้องการเน้นขึ้นต้นประโยคได้
การผูกประโยคให้น่าอ่านควรปฏิบัติดังนี้
ต้องผูกประโยคให้จบใจความ ต้องให้ได้ความครบสมบูรณ์
ผูกประโยคให้กะทัดรัด คำใดที่ไม่จำเป็นควรตัดออกเสีย
วางคำที่ต้องการเน้นไว้ข้างหน้า หรือท้ายประโยค
ผูกประโยคให้มีเอกภาพคือ เมื่อกล่าวถึงเรื่องใด ใจความต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
คำขยายควรวางไว้ใกล้ข้อความที่ขยาย
ประโยคที่มีประธานหลายตัว ควรใช้คำที่มีความหมายให้กระชับ รัดกุม
หลีกเลี่ยงการใช้กรรมขึ้นต้นเรื่อง (กรรมวาจก) ในประโยคที่มีความหมายที่ดี
(ทางบวก)
8. ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หรือคำซ้ำ
หลักการผูกประโยคที่กล่าวมานี้สำคัญอย่างมาก ผู้เขียนที่ดีจะต้องพยายามแก้ไขปรับปรุง และพยายามทำให้งานเขียนของตนถูกต้อง สมบูรณ์ทุกครั้งที่เขียน นอกจากนี้ศิลปะในการเขียน และประโยชน์ที่มีอยู่ในงานเขียนก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะจะช่วยให้ข้อเขียนน่าอ่าน มีคุณค่าเพิ่มขึ้น และเป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน
Comments