ภาษา เมื่อพิจารณาความหมาย สามารถแบ่งได้ 2 ความหมาย คือความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การแสดงออกเพื่อการสื่อความหมายในทุกรูปแบบ เช่น การพูด การเขียน ภาพ เสียง สัญลักษณณ์ สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบ หมายถึง การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายในรูปแบบการพูดเท่านั้น
ประเด็นสำคัญของเนื้อหาเรื่องนี้
1. ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ
2. เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย
3. ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัดแต่สามารถประกอบเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ
4. ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
5. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
1. ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ เพื่อใช้สื่อสารแทนวัตถุ ปรากฏการณ์ ความคิด และความรู้สึก ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นและตกลงให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เครื่องหมาย ในที่นี้คือ "เสียง" ภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติใดล้วนใช้เสียงช่วยสื่อความคิดความรู้สึกของผู้พูดไปยังผู้ฟัง ผู้ฟังฟังแล้วก็จะตีความหมายจากเสียง ที่ได้ยินส่วนชนชาติที่เจริญแล้ว ก็จะมีวิธีการถ่ายทอดเสียงเป็นตัวอักษร ใช้ตัวอักษรช่วยสื่อความหมายได้อีกวิธีหนึ่ง
2.เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย ในความเป็นจริง มนุษย์สามารถเปล่งเสียงต่างๆ ได้มากมายหลายเสียงแต่มนุษย์เลือกเสียงจำนวนหนึ่งมากำหนดความหมายแก่เสียงนั้นๆ เช่นคนไทยเลือกเสียง kh/ เสียงเอะ/กับเสียงวรรณยุกต์จัดวา ผสมกันเป็น /kha4: (ขา) เพื่อใช้เรียกอวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้าสำหรับยันกายและเดิน เราไม่อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดต้องเรียกอวัยวะส่วนนี้ว่า “ขา" เสียงจึงไม่สัมพันธ์กับความหมาย แม้ว่าจะมีคำจำนวนหนึ่งที่มีเสียงสัมพันธ์กับความหมายเช่นคำเลียนเสียง เพลังโครม ปัง กริ้ง แก๊ก, กา เหมียว ตุ๊กแก, หวูด ออด กริ่ง (รถ) ตุ๊กๆ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือคำที่มีเสียงสระหรือพยัญชนะในคำนั้นแนะความหมาย เช่น เก เซ เข เฉ เย้ เป้ เหเหล่ สระ/เอ/ ช่วยแนะให้เห็นภาพของความไม่ตรง เป็นต้น (ยกเว้น "เด่" ให้ภาพของความตรงแน่ว) แต่คำเหล่านี้มีเพียงส่วนน้อยในภาษา และเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่าคำเหล่านี้ต้องแล้วแต่การตกลงกันอีก การที่เสียงหนึ่งหมายความอย่างหนึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันของคนแต่ละกลุ่มแต่ละพวก
ตัวอย่างข้อสอบ
1. คำว่า "ยาย" ในภาษากรุงเทพฯ มีใช้ต่างออกไปในภาษาถิ่นอื่น เช่น ภาษาลำพูนใช้ "อุ้ย"
ภาษาสกลนครใช้ “แม่เฒ่า" ข้อใดอธิบายลักษณะของภาษาดังกล่าวข้างต้น
ก. ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย
ข. ภาษาถิ่นหมายถึงภาษาที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่
ค. เสียงในภาษาไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับความหมาย
ง. ลักษณะของภาษาถิ่นต้องแตกต่างกับภาษามาตรฐาน
ตอบข้อ ค
โจทย์ข้อนี้สร้างตัวเลือกเรื่องภาษาถิ่นมาลวง ข้อความในโจทย์ไม่ได้กล่าวถึง ลักษณะภาษาถิ่นที่แตกต่างกับภาษามาตรฐาน (ตัดตัวเลือกข้อ 4) ไม่ได้นิยามภาษาถิ่นว่าหมายถึงภาษาที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ (ตัดตัวเลือกข้อ 2) ส่วนตัวเลือกข้อ 1 เนื้อความ พูดกว้างเกินไป ไม่ใช่คำตอบ จำไว้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรียกแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะแตกต่างกันตามภูมิภาค คือภาษาถิ่น หรือแตกต่างกันตามประเทศ คือภาษาแต่ละภาษา เป็นแนวคิดเรื่องเสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย
3.ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัด แต่สามารถประกอบเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ ภาษามีระบบ ทุกภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย ซึ่งมีการใช้อยู่ในระบบ คือมีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ มนุษย์สามารถเรียนและใช้ภาษาได้เพราะภาษามีระบบ "ระบบเสียง" - ผู้ใช้ภาษาแต่ละภาษาเลือกที่จะใช้เสียงเพียงจำนวนจำกัดมาใช้สื่อความหมาย เช่น ภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะต้น 21 หน่วยเสียง เสียงสระ 21 หน่วยเสียง เสียงพยัญชนะท้าย 9 หน่วยเสียง และเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง นอกจากนี้เสียงที่ถูกเลือกใช้ในแต่ละภาษาก็ยังมีขอบเขตอีก เช่น เสียง/n/ ในภาษาไทยปรากฏได้ทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ นาง นก น้อย / เรียน เขียน อ่าน แต่เสียง /AI ในภาษาไทยปรากฏได้ในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น ฟุน ไฟ ฟอน (กอล์ฟ เราออกเสียง
เป็น /ก็อบ/)
"ระบบความหมาย" ในแต่ละภาษามีไวยากรณ์คือระบบการจัดเรียง ความสัมพันธ์ของถ้อยคำเพื่อใช้สื่อความหมายให้เข้าใจกันได้
จำไว้ว่า ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัด แต่หน่วยเสียงที่จำกัดนี้สามารถนำมาประกอบกันเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ เป็นหน่วยพยางค์หน่วยคำ ประโยค ข้อความ
ตัวอย่างข้อสอบ
2. ก. แม่ซื้อผ้า
ข. คุณแม่ซื้อผ้าให้น้อง
ค. คุณแม่ซื้อผ้าสีแด่งให้น้อง
ง. คุณแม่ซื้อผ้าสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง
จ. คุณแม่ท่านใจดีได้ซื้อผ้าลายสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง
ตัวอย่างประโยคข้อ ก.-จ. แสดงลักษณะภาษาชัดเจนที่สุดตามข้อใด
ก. หน่วยในภาษาเกิดขึ้นจากการตกลงของกลุ่ม
ข. หน่วยในภาษาประกอบกันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นได้
ค. หน่วยในภาษาประกอบขึ้นจากคำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ง. หน่วยในภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้
ตอบข้อ ข
จะเห็นได้ว่าข้อความในโจทย์ค่อยๆ มีจำนวนคำเพิ่มมากขึ้นๆ เป็นลำดับช่วยสื่อความหมายกระจ่างขึ้นตัวอย่างภาษาที่กำหนดมาให้จึงเป็นเรื่องของการประกอบหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นๆ
4. ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาเป็นพฤติกรรมทางสังคม มนุษย์ต้องเรียนรู้เหมือนกับพฤติกรรมอื่นๆ ในสังคม เช่น การสวมเสื้อ การกิน การใช้ส่วมเป็นต้น นอกจากเรียนรู้แล้ว ยังต้องถ่ายทอด สืบทอดต่อไปเป็นรุ่นๆ
ตัวอย่าง : ถ้าเด็กคนใดไปเกิดแล้วโตอยู่ในป่ากับสัตว์โดยไม่มีผู้ใหญ่ให้เลียนแบบจะไม่สามารถพูดภาษามนุษย์ได้ หรือเด็กไทยที่ไปเติบโตอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่เกิด จะพูดภาษาไทยไม่ได้เลยหากไม่มีใครสอนพูดภาษาไทย
ตัวอย่างข้อสอบ
3. การที่นักร้องนักแสดงไทยหลายคนที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ และพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนแสดงให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของภาษาตามข้อใด
ก. ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม
ข. ภาษาย่อมแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
ค. ภาษามักจะสะท้อนสภาพของสังคมนั้นๆ
ง. ภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม
ตอบข้อ ง
ให้สังเกตว่าข้อความในโจทย์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องภาษาเปลี่ยนแปลง (ตัดตัวเลือก ข้อ ก) ไม่ได้กล่าวถึงลักษณะแตกต่างทางภาษา (ตัดตัวเลือกข้อ ข) และไม่ได้กล่าวถึงภาษาสะท้อนสังคม (ตัดตัวเลือกข้อ ค)
กรณีที่โจทย์กำหนดนี้ คือแนวคิดเรื่องภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม กล่าว คือ ภาษาต้องเรียนรู้ เมื่อเด็กไทยเกิดและเติบโตในต่างประเทศย่อมต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้นๆ แม้จะมีผู้สอนให้พูดภาษาไทย แต่สำเนียงของภาษาต่างประเทศที่ใช้พูดใน ชีวิตประจำวันย่อมมีอิทธิพลต่อการออกเสียงภาษาไทย ทำให้พูดภาษาไทยสำเนียงต่างประเทศที่ฟังแปร่งหู
ตัวอย่างข้อสอบ
4. ข้อใดไม่แสดงวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
ก. กับข้าวไทยส่วนใหญ่มักมีรสเผ็ด
ข. ดิฉันปวดศีรษะจึงขออนุญาตลาหยุดครึ่งวัน
ค. บิดาของกามนิตเป็นพ่อค้าใหญ่ของกรุงอุซเชนี
ง. สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ทางโทรทัศน์
ตอบข้อ ก
โจทย์ข้อนี้ให้สังเกตว่าตัวเลือกที่ ข,ค และ ง มีคำที่แสดงระดับภาษา ข้อ ข-ปวดศีรษะ ข้อ ค-บิดา และข้อ ง-ประทานพร ระดับภาษาเป็นลักษณะทางภาษาประการหนึ่งที่แสดงวัฒนธรรมการใช้ภาษา การแบ่งภาษาให้เป็นระดับต่างๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะแก่บุคคล กาลเทศะนั้นถือเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่คำนึงถึงระดับบุคคลความเหมาะสมของสถานที่ เวลาในการสื่อสาร ส่วนตัวเลือกข้อ ก เป็นข้อมูลแจ้งให้ทราบไม่มีถ้อยคำใดแสดงให้เห็นลักษณะทางภาษาที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม
5.ภาษามีการเปลี่ยนแปลง เมื่อภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอสาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการใหญ่ๆ คือ
1. การพูดจาในชีวิตประจำวัน ในการพูดจาตามปกติ ผู้พูดอาจจะไม่พูดให้ชัดเจนทุกถ้อยทุกคำ เสียงอาจจะกลาย คือมีการกลืนเสียง หรือมีการกร่อนเสียงเกิดขึ้น เช่น อย่างนี้ กลืนเสียงเป็น อย่างงี้ อันหนึ่ง กร่อนเสียงเป็น อนึ่ง นานๆ เข้าคำที่เปลี่ยนไปก็ติดอยู่ในภาษา คำเดิมก็อาจจะค่อยๆ สูญไปหรืออาจจะใช้ในความหมายที่ต่างจากเดิม ตัวอย่างที่พบเห็นเสมอหนังสือ(นัง - สื่อ) มหาวิทยาลัย(มหา - ลัย) สนามหลวง(หนาม - หลวง)โทรศัพท์(
โท - ศัพท์) โรงพยาบาล(โรง -บาล)พยายาม(พยาม)
2. อิทธิพลของภาษาอื่น เมื่อมีการยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ เราอาจพยายามดัดแปลงให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาของเรา หรือบางครั้งยังคงใช้ภาษาเดิมซึ่งมีอิทธิพลทำให้ภาษาของเราเองเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงมีดังต่อไปนี้
1) มีหน่วยเสียงเพิ่มขึ้น หน่วยเสียง /f/ สามารถปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์ได้ เช่น กราฟ ดราฟต์ภาษาไทยมีหน่วยเสียงควบกล้ำเพิ่มขึ้นจากที่เคยมีอยู่จำกัด เช่น /dr/-ดรัมเมเยอร์, /fr/ - ฟรี, /br/- บรีส
2) มีคำศัพท์มากขึ้น ภาษาไทยปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้นอย่างรวดเร็วและใช้ในทุกวงการ เช่น เทคโนโลยี คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ คอมพิวเตอร์ บูติก ยูนิต
3) มีรูปประโยคเปลี่ยนไป รูปประโยคภาษาไทยปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษเป็นอันมาก เช่นสองข้อความนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียด, ข้าพเจ้าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น,เรื่องนี้ง่ายต่อการเข้าใจ, ดาราผู้นี้มากด้วยความสามารถ
4) มีอักขรวิธีเปลี่ยนไป เครื่องหมายบางอย่างอาจเปลี่ยนหรือเพิ่มตำแหน่งที่ปรากฏได้ เช่น เครื่องหมายทัณฑฆาต แต่เดิมปรากฏบนตัวอักษรสุดท้ายที่ไม่ออกเสียงเสมอไม่ว่าคำคำ นั้นจะมีเสียงพยัญชนะเสียงอื่นไม่ออกเสียงก็ตาม เช่น พราหมณ์ เราไม่ใส่เครื่องหมาย ทัณฑฆาตกำกับตัว "ห' แม้ว่าจะไม่ออกเสียง /n/ แต่ปัจจุบัน เครื่องหมายนี้สามารถปรากฏบนตัวอักษรกลางคำ เช่น กอล์ฟ หรือปรากฏมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้ เช่น มาร์กซ์
3. สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เมื่อมีสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ต้องมีศัพท์ใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้สิ่งที่เคยมีอยู่เดิมเมื่อเลิกใช้ก็อาจจะทำให้คำที่เรียกสิ่งนั้นสูญไปจากภาษาหรือหากคำนั้นยังคงอยู่ คนรุ่นใหม่ก็อาจไม่รู้ความหมาย เช่น เมื่อเด็กรุ่นใหม่รู้จักแต่อุปกรณ์เครื่องครัวทันสมัยอย่างหม้อไฟฟ้า เขาก็จะไม่รู้จักการ "ดงข้าว" ซึ่งเป็นการหุงข้าวแบบเดิม การเปลี่ยนแปลงทางภาษาเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกภาษา ภาษาใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้วจะถือว่าเป็น "ภาษาตาย" เช่น ภาษาละติน ภาษาสันสกฤต
ตัวอย่างข้อสอบ
5. ลูก : แม่ขา! สีน้ำตาลเป็นสียังไงคะ
แม่ : สีเหมือนกระเป๋าของแม่ (ชี้ให้ดูกระเป๋าสีน้ำตาล
ลูก : ไม่ใช่ค่ะ! สีน้ำตาลเป็นสีขาว
แม่ :!
การที่ลูกเข้าใจว่า "สีน้ำตาลหมายถึงสีขาว" แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงความหมายของภาษาที่เนื่องมาจากสาเหตุใด
ก. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ข. การพูดจากันในชีวิตประจำวัน
ค. อิทธิพลของภาษาอื่น ง. การเรียนภาษาของเด็ก
ตอบข้อ ก
โจทย์ข้อนี้เป็นการสมมุติกรณีขึ้นมา การที่เด็กคนนี้เข้าใจว่าสีน้ำตาลเป็นสีขาวอนุมานได้ว่าสืบเนื่องจากเด็กคนนี้เกิดมาไม่เคยรู้ว่าสีน้ำตาลเป็นสีของ "น้ำของตาล" เกิดมา ก็เห็นแต่เกล็ดน้ำตาลทรายที่ฟอกเป็นสีขาว และได้ยินทุกคนเรียก "น้ำตาล"เด็กคนนี้ย่อมเข้าใจว่าสีน้ำตาลเป็นสีขาวตามสิ่งแวดล้อมของตน
6. ข้อใดแสดงว่าภาษาไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลง
ก."มอง" ภาษาเหนือใช้ "ผ่อ" ภาษาอีสานใช้"เบิ่ง" และภาษาใต้ใช้ "แล"
ข. เรือนรัก" ในภาษากรุงเทพฯ ออกเสียงเป็น"เฮือน ฮัก'ในภาษาถิ่นเหนือ
ค."ส่งสินค้าออก" ปัจจุบันใช้ว่า "ส่งออกสินค้า"
ง. "ดิฉัน" แต่เดิมทั้งผู้หญิงและผู้ชายใช้เป็นสรรพนามแทนตัว
ตอบข้อ ค
ตัวเลือกข้อ 1 และ 2 เป็นเรื่องของเสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย ข้อ 4 ดูเหมือนเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา แต่ข้อความนี้ให้ข้อมูลเพียงแค่ว่า คำ ดิฉันนั้นแต่เดิมใช้เป็นสรรพนามทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ยังไม่ได้บอกว่าปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไปอย่างไร ข้อ 3 ระบุชัดเจนว่าส่งสินค้าออก ปัจจุบันใช้ว่าส่งออกสินค้า แสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้คำ ส่งออก ในปัจจุบันใช้เป็นคำประสม แทนคำภาษาอังกฤษว่า export
7. ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา
ก. เพ็ญ" เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร มีความหมายว่า "เต็ม"
ข. "วิสัยทัศน์" เป็นศัพท์บัญญัติของคำ "vision" ในภาษาอังกฤษ
ค. "พอ" เมื่อเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็น "พ่อ" จะมีความหมายต่างไป
ง. เพื่อ" เดิมใช้เป็นคำบุพบทบอกเหตุ ปัจจุบันใช้เป็นคำบุพบทบอกจุดมุ่งหมาย
ตอบข้อ ค
ข้อ ค เป็นเรื่องของไวยากรณ์ ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ และเสียงวรรณยุกต์ มีไว้แยกความหมายของคำ
ข้อ ง ระบุชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพื่อ แต่เดิมใช้เป็นคำบุพบทบอกเหตุ เช่น พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน แปลว่า เหตุที่ชื่อพระรามคำแหง เพราะได้ทำศึกชนะขุนสามชน
ส่วนข้อ ก และ ข การยืมคำภาษาต่างประเทศและการบัญญัติศัพท์ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นในภาษา เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาด้วย
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย
1. มีศัพท์บัญญัติเกิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษ เช่น กระสวนประโยค (pattern) จินตภาพ (imagery) ประชาธิปไตย (democracy) บรรณาธิการ (editor) มาตรฐาน (standard) รัฐสภา (parliament) สัมมนา (seminar)
* มีศัพท์บัญญัติบางคำที่ไม่นิยมใช้ คือ "ไม่ติดตลาด"เช่น สังกัปป์ แทน concept ซึ่งมักจะใช้ว่า ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ หรือ เจตนคติ มากกว่า
* มีศัพท์บัญญัติบางคำที่ใช้ผิดจนแพร่หลาย คือ "ศัพท์ผิดติดตลาด" เช่นภาพพจน์ ที่ถูกต้องเป็นศัพท์บัญญัติของ figure of speech หมายถึง การพรรณนาหรือบรรยายอย่างแจ่มแจ้งทางภาษาจนผู้อ่านหรือผู้ฟังบังเกิดความชาบซึ้ง แลเห็นเป็นภาพ ชัดเจนในห้วงความคิดคำนึง แต่ปัจจุบันมักใช้ ผิด คือใช้แทนคำว่า image กันมาก เช่นภาพพจน์ของตำรวจดีขึ้น การโฆษณาสินค้าขายภาพพจน์ของผู้ผลิตสินค้าเสียโดยมากในที่นี้ควรใช้คำว่า ภาพลักษณ์ คือภาพที่ถูกประกอบสร้างขึ้นให้คนส่วนมากเห็นตามนั้นเช่น ภาพลักษณ์ของนักการเมือง ภาพลักษณ์ของสถาบัน เป็นต้น
2. มีคำคะนอง (คำสแลง) เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่นเด็กแนว (คนมีแนวทางเฉพาะตัว ซึ่งอาจแสดงออกมาในด้านเครื่องแต่งกาย ทรงผม ทัศนคติ การดำเนินชีวิต)กิ๊ก(คู่ควงที่ไม่เปิดเผยหรือแสดงตนเป็นทางการ)เบนโล(ผู้หญิงที่ท้องก่อนแต่งงาน) แอ๊บแบ๊ว(ผู้หญิงที่ทำตัวเหมือนจะน่ารัก ทำให้ตัวเองดูเด็กลง)เข้าวิน(กางเกงในเข้าร่องก้น)
สตรอเบอรี (แปลงคำมาจาก ตอแหล คือพูดไม่จริง พูดจามีจริต)
3. มีการสร้างคำใหม่ขึ้น เช่น คนชายขอบ, คนรากหญ้า, คาเฟ่เน็ต
4. มีสำนวนติดปากเกิดขึ้นใหม่ๆ เช่น ฟันธง, รักนะ เด็กโง่, โอ้พระเจ้าจอร์ชมันยอดมาก,ถูกต้องนะคร้าบ, พระเจ้าช่วยกล้วยทอด
5. มีคำที่เปลี่ยนหน้าที่เปลี่ยนความหมายหรือเปลี่ยนบริบท เช่น ธนาคารเลือด ธนาคารข้าว ธนาคารแว่น
(ธนาคารความหมายเดิมใช้เฉพาะสถานที่ฝากสะสมเงินเท่านั้น)
* นัดอร่อยของคนทันสมัย (อร่อยปกติใช้เป็นคำขยายเท่านั้น ในที่นี้ใช้เป็นคำนาม)
6. มีคำต่างสมัยที่เปลี่ยนความหมายหรือเปลี่ยนบริบทไปแล้ว เช่น เลือกที่สาวฉกรรจ์ มีรูปเป็นอันงามหนึ่ง ที่เด็กดรุณพึ่งเจริญแรกรุ่นนั้นหมู่หนึ่ง (“สาวฉกรรจ์" ในที่นี้คงหมายถึง สาวใหญ่หรือสาวที่มีอายุสักหน่อย ไม่ใช่สาว บึกบีน สาวนักรบ ตามความหมายปัจจุบันที่ใช้เฉพาะกับผู้ชาย เป็น "ชายฉกรรจ์" ซึ่งหมายถึงชายแข็งแรงสมบูรณ์) พระองค์จะใคร่ชันสูตร (กองทัพ) ให้รู้แน่ ("ซันสูตร" ในที่นี้ใช้หมายถึง ตรวจกองทัพ ปัจจุบันเราใช้คำนี้ในบริบทแคบลงคือ "ซันสูตรศพ" เท่านั้น) และนางนั้นขายของดีมีกำไรมีมากเพราะคนพอใจมาซื้อที่ร้านนั้นติดจะซุกชุม (ปัจจุบันเราใช้คำว่า "หนาแน่น" หรือ "คึกคัก" ในความหมายว่ามีคนมาอุดหนุนมาก ส่วน "ซุกชุม" ปัจจุบันใช้ในบริบทที่แคบลง คือ ใช้ในความหมายไม่ดี โจรซุกชุมผู้ก่อการร้ายชุกชุม) เมื่อชั่วพ่อก กูบำเรอแก่พ่อก กูบำเรอแก่แม่ก...พ่อกูตาย ยังพี่กกพร่ำ บำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู("บำเรอ" ในที่นี้ใช้ในความหมายว่าปรนนิบัติรับใช้ ซึ่งมีปริบทกว้าง ครอบคลุม ถึงการปรนนิบัติพ่อแม่และพี่ แต่ในปัจจุบัน บำเรอ ใช้ในความหมายว่าปฏิบัติให้เป็นที่พอใจ ทำนองบำเรอความสุข โดยเฉพาะความสุขทางโลกีย์และใช้เรียกหญิงที่บำเรอความสุขว่านางบำเรอ) กรีธาหมู่นาเวศ
จากนคเรศโดยสาชล เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี ("เหิมหื่น" ในกาพย์เห่เรือนี้มีความหมายกลางๆ ว่ายินดีอย่างแรงกล้าหรือฮึกเหิม ปัจจุบัน หื่น มีความหมายแคบลง แปลว่ามีความอยากอย่างแรงกล้าและมักใช้ในทางกามารมณ์) ครับ
Comments