มารยาทในการพูด
มารยาทที่ควรรู้และฝึกฝนให้สามารถใช้ได้ดีมีประโยชน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลการพูดระหว่างบุคคล จะต้องมีการตอบสนองซึ่งกันและกันตลอดเวลาระหว่างผู้พูด กับผู้ฟัง มีทั้งการให้และการรับ การสนทนาที่ดีควรมีการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และการเสนอข้อคิดเห็นของตนเอง จึงจะทำให้การสนทนานั้นมีบรรยากาศเบิกบาน และทุกคนเกิดความสุข
มารยาทที่ควรยึดถือและปฏิบัติ มีดังนี้
นำเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายสนใจ และพอใจมาสนทนากัน เช่น ข่าวประจำวัน การแข่งขัน กีฬา หรือความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมือง
ไม่พูดเรื่องตนเองมากไป ตั้งใจฟังขณะที่คนอื่นพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขายังพูดไม่จบ เมื่อถึงโอกาสที่ตัวเองได้พูดก็ควรพูดพอได้ใจความ และควรรู้จักพูดเสริม หรือต่อเติมเพื่อให้การพูดนั้นมีรสชาติ
ควรพูดให้ตรงประเด็น จะออกนอกเรื่องบ้างก็ไม่ควรให้มากนัก
เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่พูดจาข่ม หรือพูดแบบแสดงอำนาจให้ผู้อื่นเชื่อถือหรือคิดเหมือนตนเอง ไม่แสดงตนว่าเป็นผู้รู้ดีกว่าผู้ร่วมสนทนา
ไม่ถามเรื่องส่วนตัวซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดความรู้สึกลำบากใจ
สิ่งที่นำมาพูดควรให้เข้ากับโอกาสและบรรยากาศ เช่น ในงานรื่นเริงไม่ควรพูดเรื่องโศกเศร้า ไปเยี่ยมผู้ป่วยควรพูดเรื่องสนุกสนานไม่เครียด และเวลารับประทานอาหารไม่ควรพูดเรื่องสกปรกน่าสะอิดสะเอียน
ไม่พูดเรื่องกล่าวร้ายหรือนินทาผู้อื่น ไม่ใช้ถ้อยคำแสดงการดูหมิ่นผู้ที่เราพูดด้วยขณะที่พูดต้องวางตนสุภาพเรียบร้อย ไม่แสดงท่าทียกตนข่มท่าน ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าด้อย
ควบคุมอารมณ์ในขณะสนทนา หลีกเลี่ยงคำโต้แย้งที่รุนแรง เช่น "คุณพูดผิด""คุณไม่รู้หรอกว่า"
"คุณทำน่าเกลียดมาก"
9. สร้างบรรยากาศที่ดีด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงไมตรีจิตต่อกัน ให้ความสนใจกับเรื่องที่พูดอยู่
10. ไม่ใช้คำหยาบ ใช้ภาษาที่สุภาพ ถ้าใช้คำคะนองต้องใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและ
บุคคล
11.ใช้เสียงดังพอควร ไม่ตะโกน หรือใช้น้ำเสียงกระด้าง ไม่พูดเสียงเบาเกินไป
12. ควรมองหน้าหรือสบตาอีกฝ่ายหนึ่งในขณะที่พูด และควรพังผู้อื่นพูดด้วยความ ตั้งใจ ไม่กระชิบกระชาบคุยกับผู้ที่นั่งใกล้เคียง
2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ การพูดในที่สาธารณะ ต้องรักษามารยาทเป็นพิเศษ เพราะมีผู้ฟังมาจากที่ต่างๆ มีวัย วุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจแตกต่างกันไป ผู้พูดจำเป็นต้องระมัดระวังการ แสดงออกด้วยกิริยาอาการ การเลือกใช้ถ้อยคำ การวางตัว ไปจนถึงการแต่งกาย มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ มีดังนี้
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม ไม่ควรแต่งกายที่ดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษ
ควรมาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลา หรือก่อนเวลาเล็กน้อย การปล่อยให้ผู้ฟังรอคอย ถือเป็นการเสียมารยาท และทำให้ผู้ฟังลดความเชื่อถือในตัวผู้พูด
แสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียม เช่น ยกมือไหว้ทั้งก่อนพูดและเมื่อพูดจบแล้ว
ไม่ทำกิริยาทักทายผู้ฟังบางคนในฐานะส่วนตัว หรือล้วง แคะ แกะ เกาส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย
ใช้คำพูดที่ให้เกียรติผู้ฟัง ทั้งผู้ที่มีวัยวุฒิหรือคุณวุฒิต่ำกว่าตนเอง
ไม่พูดพาดพิงเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
ไม่พูดตลกหยาบโลน หรือตลกคะนอง
พูดให้เสียงดังพอได้ยินกันทั่ว ไม่ดังหรือค่อยเกินไป
ไม่ควรพูดเกินเวลาที่กำหนดไว้
สัมฤทธิผลของการพูด
การพูดที่ประสบความสำเร็จคือ การพูดที่บรรลุจุดประสงค์ตามที่วางไว้ เช่น การโฆษณาขายบ้านจัดสรร หลังจากพูดโฆษณาไปแล้ว มีผู้สนใจมาติดต่อขอซื้อบ้านเป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ฟังเช่นนั้น แสดงว่า การพูดเกิดสัมฤทธิผล ผู้พูดที่จะสามารถทำให้การพูดเกิดผลสัมฤทธิได้ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
มีคุณธรรม คือพูดจากความรู้ และข้อมูลที่มีอยู่อย่างใช้สติ มีวิจารณญาณ และเที่ยงธรรม ไม่แสดงว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลบางอย่าง ใช้ถ้อยคำนุ่มนวล ก่อให้เกิดไมตรีจิต มิตรภาพ ไม่แต่งเรื่องประกอบขึ้น หรือกล่าวอ้างให้ผู้ฟังหลงเชื่อคล้อยตาม และต้องรับผิดชอบผลที่จะเกิดต่อสังคมหรือชุมชนนั้น ผู้พูดที่มีคุณธรรม มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง เคารพและให้เกียรติ หรือเห็นความสำคัญของผู้ฟัง ย่อมจะมีผู้ศรัทธาเชื่อถือ
มีความรู้ดีและรู้จริงในเรื่องที่พูด การรู้ดีและรู้จริงเกิดจากการค้นคว้าหาความ รู้อยู่เสมอ เมื่อมีความแน่ใจในเรื่องที่พูด ก็จะพูดด้วยความมั่นใจ น้ำเสียงหนักแน่น และควรมีหลักฐานอ้างประกอบการพูดให้ชัดเจน
มีเหตุผลมาสนับสนุนการพูด การพูดที่มีเหตุผลจะทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม และเชื่อถือในเรื่องที่พูด
รู้จักธรรมชาติวิสัยของมนุษย์ การรู้จักธรรมชาติของมนุษย์จะช่วยให้เข้าใจ และสามารถพูดได้เหมาะสมกับวัย พื้นฐานความรู้ และความคิดของผู้ฟัง
รวบรวมความคิดให้เป็นระบบ การรวบรวมความคิดจะเริ่มต้นด้วยการกำหนด จุดประสงค์ให้ชัดเจน วางแนวที่จะใช้พูด จัดลำดับข้อความที่จะต้องพูดก่อนหลัง วางใจความสำคัญ และส่วนขยายให้สอดคล้องกัน รู้จักวิธีกล่าวอารัมภบท ดำเนินเรื่องให้เหมาะสม ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นในตอนท้าย ก็ควรกะระยะไว้ให้พอดีกับเวลาที่กำหนด
รู้จักใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง การรู้จักใช้ภาษาให้เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ และควรเลือกใช้ภาษาที่ทำให้เข้าใจได้ง่าย
ชัดเจนตรงความหมาย
Comments