top of page
Writer's picture

รายงานเชิงวิชาการ




รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่ เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการส ารวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วน ามารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ

การอ่านจับใจความสำคัญเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ผู้อ่านงานเขียนทางวิชาการหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เมื่ออ่านงานเขียนทางวิชาการ ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องทางวิซาการนั้นอย่างคร่าว ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนที่จะอ่านอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้นให้ถ่องแท้ จนกระทั่งสามารถนำความรู้ ความคิด และทัศนะทางวิชาการที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นเยาว์วัย แต่ก็มีบุคคลจำนวนมากไม่สามารถจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิชาการได้ หรือจับใจความสำคัญได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ได้ใจความสำคัญคลาดเคลื่อนและ/หรือบกพร่อง ดังนั้น ในที่นี้จึงนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับการจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิซาการ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านจับใจความสำคัญ

ตำราเป็นเอกสารทางวิชาการที่กลุ่มผู้อ่านในแวดวงวิชาการ อาทิ นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ และนักวิชาการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ประกอบการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้า การอ่านตำรามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้อย่างจริงจัง ผู้อ่านจะอ่านอย่างฉาบฉวยไม่ได้ ต้องมีความสามารถทางการอ่านในระดับ “อ่านเป็น” จึงจะเกิดสัมฤทธิผล การจะสามารถอ่านตำราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้อ่านควรมีความเข้าใจข้อมูลความรู้ ในประเด็นต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป ความหมายของตำรา การจัดประเภทของเอกสารวิชาการเป็นตำรามีความหลากหลายตามระดับมาตรฐานของผู้จัด “…การตัดสินว่าหนังสือเล่มใดเป็นตำรา มีทั้งที่มีมาตรฐานสูง คือ ถือว่าต้องเป็นหนังสือวิชาการ ในระดับลึกซึ้งเท่านั้น กับประเภทที่มีมาตรฐานไม่สูงถือว่าหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาการเป็นตำราทั้งสิ้น…” ด้วยเหตุนี้นักวิชาการท่านนี้จึงจำแนกประเภทของตำราอย่างหลากหลาย ทั้งโดยเนื้อหา และวิธีการเขียน


6 views

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page