top of page

Search Results

25 items found for ""

Blog Posts (22)

  • โคลงสี่สุภาพ

    ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (คณะของโคลงสี่สุภาพ) ๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด ๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ – ๓ มี ๒ พยางค์บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ ๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง ๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง ๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และ โทโทษ คำตาย คือ๑) คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โป๊ะ ฯลฯ๒) คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ     คำเอกคำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกโทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตามเช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท “โคลง” และ “ร่าย”และถือว่าเป็นข้อบังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า “โทโทษ”ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า “เอกโทษ”เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ

  • คำสมาสและคำสนธิ

    คำสมาสและคำสนธิ 1. คำสมาสหรือการสมาสคำ คือ วิธีการสร้างคำในภาษาบาลีสันสกฤตที่ภาษาไทยนำมาใช้ดังนั้นคำสมาสจึงเกิดจากการนำคำบาลีสันสกฤตมาประกอบกัน เกิดคำและความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิม คำสมาสจะต้องเป็นคำบาลีสันสกฤตเท่านั้นเช่น เทว + รูป = เทวรูป่ ถ้ามีคำใดคำหนึ่งเป็นคำไทยจะไม่นับเป็นคำสมาสเช่น เทพ + เจ้า = เทพเจ้า (เจ้า เป็นคำไทย) การอ่านคำสมาสจะต้องอ่านคำหน้ากับคำหลังต่อเนื่องกันถึงแม้จะไม่มีสระกำกับเช่น อนุชน อ่านว่า อะ -นุ- ชน มิตรสหาย อ่านว่า มิด - สะ - หาย คำสมาสจะต้องแปลความหมายจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น เบญจศีล = ศีล ๕ เหมันตฤดู = ฤดูหนาว สมุทรเจดีย์ = เจดีย์ที่ตั้งอยู่กลางน้ำ แต่ถ้าไม่สามารถแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า ไม่นับเป็นคำสมาสเช่น ประวัติวรรณคดี = ประวัติของวรรณคดี คำสมาสจะต้องไม่มีการประวิสรรชนีย์หรือมีการันต์ ระหว่างคำเช่น กิจจะลักษณะ, ทรัพย์สมบัติ ถ้าคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ตามหลังคำบาลีสันสกฤต จะนับเป็นคำสมาสเช่น เศรษฐศาสตร์, วจีกรรม, วาตภัย, สุขภาพ เป็นต้น 2. คำสนธิหรือการสนธิ คือ การนำคำ ๒ คำมาเชื่อมกันโดยระหว่างคำหน้ากับคำหลังมีการกลมกลืนเสียง คำสนธิในภาษาไทยจะต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น สระสนธิ คือ การเชื่อมคำ ๒ คำโดยมีการเปลี่ยนแปลงสระระหว่างคำเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ เช่น ถ้าคำหน้ามีสระอยู่พยางค์ท้ายสนธิกับคำหลังที่มีสระอยู่พยางค์แรก จะตัดสระที่คำหน้าแต่จะใช้สระคำท้ายแทน เช่น ราช + อานุภาพ = ราชานุภาพ ถ้าคำหลังที่นำมาสนธิเป็นสระ อะ อิ ให้เปลี่ยน ดังนี้อะ เปลี่ยนเป็น อา เช่น รัตน + อธิเบศร = รัตนาธิเบศร อิ เปลี่ยนเป็น เอ เช่น นร + อิศวร = นเรศวร ถ้าพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นสระ อิ อี หรือ อุ อู ให้เปลี่ยน ดังนี้อิ อี เปลี่ยนเป็น ย เช่น สิริ + อากร = สิรยากร อุ อู เปลี่ยนเป็น ว เช่น ธนู + อาคม = ธันวาคม พยัญชนะสนธิ คือ การนำพยัญชนะสนธิมาใช้ในภาษาไทยโดยการเปลี่ยนพยัญชนะบางตัวเช่น ตัด ส ออก แล้วใส่ โอ แทน เช่น มนสฺ + รมย = มโนรมย์เปลี่ยนพยัญชนะ ส เป็น ร เช่น นิสฺ + ภัย = นิรภัย นฤคหิตสนธิ คือ การนำคำที่ลงท้ายด้วยนฤคหิตมาสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและสระ แล้วมีการเปลี่ยนนฤคหิต ดังนี้ นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ม เช่น ส์ + อาคม = สมาคม นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จะ ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ตัวสุดท้ายของวรรค ดังนี้ นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (ย ร ล ว ส ศ ษ ห ฬ) ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ง เช่น สํ + สาร = สงสาร

  • คำซ้ำ

    คำซ้ำ คือ การนำคำคำเดียวกันมาเขียนซ้ำเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ โดยใช้เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) คำซ้ำจึงเป็นการสร้างคำในภาษาเพื่อเพิ่มจำนวนคำให้มีคำใช้ในภาษามากขึ้น 1.ลักษณะทั่วไปของคำซ้ำ 1.1 คำซ้ำบางคำอาจจะมีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมหรืออาจจะเหมือนเดิม เช่น ถ้านำคำนามมาเป็นคำซ้ำ มักจะได้ความหมายที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ มีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น "ใครๆ" จะหมายถึง คนหลายๆ คน 1.2 ถ้าเป็นคำซ้ำที่ใช้ในบทร้อยกรองจะไม่สามารถใช้เครื่องหมาย "ๆ" จะใช้ได้เฉพาะใน ร้อยแก้วเท่านั้น เช่น รอนรอนสุริยะโอ้ อัสดง, เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว 1.3 คำซ้ำที่มีพยางค์เดียวเมื่ออ่านออกเสียงจะลงเสียงหนักที่พยางค์หลังชนิดของคำซ้ำ 2. แบ่งตามความหมายของคำที่เปลี่ยนไป ดังนี้ 2.1 คำซ้ำที่มีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น หนุ่มๆ หน้าตาดีทุกคน เพื่อนๆ ช่วยกันพรวนดิน เด็กๆ ทุกคนนอนหลับ 2.2 คำซ้ำที่มีความหมายอ่อนลง เช่น หน้าของเธอคล้ายๆ นักร้องคนนั้น กล่องกระดาษสีน้ำตาลๆ เป็นของใคร คุณย่ายังเคืองๆ พุดซ้อนเรื่องที่ทำโถข้าวแตก 2.3 คำซ้ำที่มีความหมายเพื่อเน้น เช่น ทำไมเธอต้องใช้แต่ของแพงๆ กินขาหมูทุกวันมีแต่มันๆ แบบนี้ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบไหม ฉันไม่ชอบรับประทานอาหารที่รสจัดๆ 2.4 คำซ้ำที่มีความหมายไม่เจาะจง เช่น ที่ทำงานของน้องอยู่แถวๆ สาทร อะไรๆ ฉันก็กินได้ทั้งนั้น ค่ำๆ ฉันจะไปดูละครเวที 2.5 คำซ้ำที่มีความหมายแยกเป็นส่วนๆ เช่น คุณครูจัดนักเรียนให้ยืนเป็นแถวๆ เธอควรอ่านหนังสือให้จบไปเป็นเล่มๆ นักเรียนควรเขียนรายงานเป็นหัวข้อๆ 2.6 คำซ้ำที่มีความหมายต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้ง เช่น ปิดเทอมนั่งๆ นอนๆ อยู่บ้านก็เบื่ออยากไปโรงเรียน เขากลับไปคิดๆ ดูแล้วว่าเขาผิดจริงเลยจะไปง้อเธอ 2.7 คำซ้ำที่เป็นสำนวน มีเพียงคำซ้ำบางคำเท่านั้นที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมไปเป็นสำนวน 3. ข้อสังเกตของคำซ้ำ 3.1 คำซ้ำบางคำที่ปกติเป็นคำซ้ำอยู่แล้วมักจะไม่นำมาใช้ในแบบไม่ใช่คำซ้ำ เช่น หยกๆ หลัดๆฉอดๆ เป็นต้น 3.2 คำบางคำไม่ใช่คำซ้ำ ดังนั้นจึงไม่ใช้ไม้ยมก (ๆ) เช่น จะจะ หมายถึง กระจ่าง จะไม่ใช้ ไม้ยมก 3.3. คำที่มาจากภาษาอื่น เช่น มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เช่นคำว่า นานา มาจากภาษาจีนเช่นคำว่า เชาเชา คำเหล่านี้ก็ไม่ใช่คำซ้ำจึงไม่ใช้ไม้ยมก (ๆ)

View All

Forum Posts (3)

View All
bottom of page