top of page

Search Results

22 items found for ""

  • รายงานเชิงวิชาการ

    รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่ เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการส ารวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วน ามารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ การอ่านจับใจความสำคัญเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ผู้อ่านงานเขียนทางวิชาการหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เมื่ออ่านงานเขียนทางวิชาการ ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องทางวิซาการนั้นอย่างคร่าว ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนที่จะอ่านอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้นให้ถ่องแท้ จนกระทั่งสามารถนำความรู้ ความคิด และทัศนะทางวิชาการที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นเยาว์วัย แต่ก็มีบุคคลจำนวนมากไม่สามารถจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิชาการได้ หรือจับใจความสำคัญได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ได้ใจความสำคัญคลาดเคลื่อนและ/หรือบกพร่อง ดังนั้น ในที่นี้จึงนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับการจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิซาการ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านจับใจความสำคัญ ตำราเป็นเอกสารทางวิชาการที่กลุ่มผู้อ่านในแวดวงวิชาการ อาทิ นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ และนักวิชาการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ประกอบการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้า การอ่านตำรามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้อย่างจริงจัง ผู้อ่านจะอ่านอย่างฉาบฉวยไม่ได้ ต้องมีความสามารถทางการอ่านในระดับ “อ่านเป็น” จึงจะเกิดสัมฤทธิผล การจะสามารถอ่านตำราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้อ่านควรมีความเข้าใจข้อมูลความรู้ ในประเด็นต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป ความหมายของตำรา การจัดประเภทของเอกสารวิชาการเป็นตำรามีความหลากหลายตามระดับมาตรฐานของผู้จัด “…การตัดสินว่าหนังสือเล่มใดเป็นตำรา มีทั้งที่มีมาตรฐานสูง คือ ถือว่าต้องเป็นหนังสือวิชาการ ในระดับลึกซึ้งเท่านั้น กับประเภทที่มีมาตรฐานไม่สูงถือว่าหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาการเป็นตำราทั้งสิ้น…” ด้วยเหตุนี้นักวิชาการท่านนี้จึงจำแนกประเภทของตำราอย่างหลากหลาย ทั้งโดยเนื้อหา และวิธีการเขียน

  • การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

    รายงานเชิงวิชาการ หรือเรียกกันว่า รายงาน (Report) เป็นผลการศึกษาหรือค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์เรื่องราวทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองอย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่อประกอบการเรียนรายวิชาต่าง ๆทั้งนี้ อาจมีรูปแบบหรือชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น รายงานการค้นคว้า รายงานวิจัย สารนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ฯลฯ รายงานเชิงวิชาการ มีโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนท้ายในแต่ละส่วนมีลักษณะดังนี้ 1. ส่วนนำ คือ ส่วนที่อยู่ก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 1.1 ปกนอก เป็นปกหน้าของเล่มรายงาน อาจใช้กระดาษสีที่มีความหนาพอสมควร สีสุภาพ หน้าปกระบุชื่อรายงาน ชื่อผู้จัดทำ ข้อมูลประกอบการทำรายงาน คณะ สถานศึกษา ภาคการศึกษา และปีการศึกษา 1.2 ใบรองปก อยู่ถัดจากปกนอก เป็นกระดาษเปล่าไม่มีข้อความ 1 แผ่น 1.3 ปกใน อยู่ถัดจากใบรองปก มีรายละเอียดเหมือนปกนอกทุกประการ แต่ใช้กระดาษอ่อน เช่นเดียวกับกระดาษพิมพ์เนื้อหารายงาน 1.4 คำนำ ถัดจากปกใน มีคำว่า คำนำอยู่ด้านบนกึ่งกลางหน้ากระดาษ ย่อหน้าถัดมาผู้จัดท า รายงานจะเขียนถึงวัตถุประสงค์ในการท ารายงาน และอาจขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือในการทำรายงานด้วย และเมื่อจบย่อหน้าแล้ว ลงท้ายระบุชื่อผู้จัดทำไว้มุมขวาล่าง 1.5 สารบัญ อยู่ถัดจากคำนำ มีคำว่า สารบัญอยู่ด้านบนกึ่งกลางหน้ากระดาษ ถัดมาเป็นคำว่า เรื่องและหน้า เนื้อหาของสารบัญคล้ายกับโครงเรื่องของรายงาน โดยเรียงลำดับหัวข้อไว้ทางด้านซ้ายมือของหน้ากระดาษ ตั้งแต่ข้อ 1. บทนำ ลงไปจนถึงข้อสุดท้าย สรุป และบรรณานุกรม หรือภาคผนวก (ถ้ามี) ตามลำดับพร้อมทั้งบอกหน้าเริ่มต้นของแต่ละหัวข้อไว้ทางด้านขวาของแต่ละบรรทัด การระบุเลขหน้าควรทำหลังจากทำส่วนเนื้อหาเสร็จสิ้นแล้ว 2. ส่วนเนื้อหา คือ ส่วนเนื้อเรื่องซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สุดของรายงาน ประกอบด้วย 2.1 บทนำ บทนำแตกต่างจากคำนำ บทนำเป็นการกล่าวถึงความเป็นมา หรือเหตุจูงใจในการทำรายงานเชิงวิชาการเรื่องนั้นๆ อธิบายเนื้อหาสาระของรายงานก่อนนำเข้าสู่เนื้อเรื่องให้ผู้อ่านทราบคร่าวๆ คล้ายกับการชักจูงใจให้ผู้อ่านที่ยังไม่ทราบเรื่องในแนวนี้มาก่อนได้รับทราบข้อมูลในเบื้องต้น รวมถึงบอกปัญหาหรือขอบเขตในการทำรายงานว่าจะศึกษาเนื้อหากว้างหรือแคบมากน้อยเพียงใด และระบุวิธีการศึกษาค้นคว้าด้วย 2.2 เนื้อเรื่อง เป็นผลการศึกษาของรายงาน เรียบเรียงตามเนื้อหาที่ปรากฏตามหัวข้อในสารบัญเขียนด้วยส านวนภาษาของผู้จัดทำ ไม่คัดลอก ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาด หากมีการนำข้อมูลมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงในเนื้อหาอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ผู้จัดทำยังสามารถแทรกภาพประกอบ ตาราง แผนผัง ได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อเรื่องและต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา และลำดับภาพหรือตารางให้ชัดเจนด้วย 2.3 บทสรุป เป็นการสรุปผลการศึกษาทั้งหมดจากที่ผู้จัดทำได้ทำรายงานฉบับนี้ เขียนด้วยสำนวนภาษาของผู้จัดทำ บทสรุปต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ตรงประเด็น ไม่ยกตัวอย่างอีก แต่อาจให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม แก่ผู้อ่าน เพื่อให้เป็นแนวทางแก่การค้นคว้าวิจัยต่อไปได้ 3. ส่วนท้าย คือ ส่วนที่อยู่ท้ายเล่มรายงาน เป็นการให้ข้อมูลประกอบและรายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย 3.1 บรรณานุกรม เป็นการนำเสนอแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทำรายงาน แสดงถึงการให้เกียรติเจ้าของผลงานที่ผู้จัดทำานำมาใช้อ้างอิง สิ่งสำคัญคือ การอ้างอิงในเนื้อหากับบรรณานุกรมจะต้องสอดคล้องกันด้วย 3.2 ภาคผนวก (ถ้ามี) เป็นการให้ข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านรายงาน ซึ่งไม่ต้องการให้ปรากฏในส่วนเนื้อเรื่อง จึงนำมาไว้ในส่วนท้ายเป็นภาคผนวก จะมีรายงานหรือไม่ก็ได้ สิ่งที่ปรากฏในภาคผนวก เช่น ผลสำรวจ แบบสอบถาม สถิติ ภาพประกอบจำนวนมาก คำอธิบายเพิ่มเติม ฯลฯ 3.3 ใบรองปกหลัง อยู่ก่อนปกหลัง เป็นกระดาษเปล่าไม่มีข้อความ 1 แผ่น 3.4 ปกหลัง ใช้กระดาษสีที่มีความหนาพอสมควร สีสุภาพ และต้องมีลักษณะสีหรือรูปแบบ เหมือนกับปกนอก

  • การอ่านสังเคราะห์

    โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวันในด้านเทคโนโลยี การหาความรู้ในยุคเก่าโดยมากอาศัยการค้นตำราตามห้องสมุด ซึ่งตำราและหนังสือยังมีไม่มากเท่าในปัจจุบัน การผลิตงานเขียนให้ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ในวงกว้างไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย การผลิตงานเขียนให้แพร่หลายในวงกว้างทำได้ไม่ยาก ทำให้การพัฒนาความรู้เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกัน ความถูกต้องเที่ยงตรงของเนื้อหาส่วนหนึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกละเลยจนแทบไม่มีมาตรฐาน เราจึงต้องระมัดระวังให้มากขึ้นในการสังเคราะห์ความรู้จากสื่อสมัยใหม่เหล่านี้ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ โฆษณา นิตยสาร วารสาร สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ไม่เย็บเล่ม และไม่มีปก เนื้อหาส่วนใหญ่ มุ่งเสนอข่าวสารต่างๆ ใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ใช้เสนอข่าวเพื่อให้สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจผู้อ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ติดต่อกันทางคอมพิวเตอร์ ภาษาที่ใช้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ และฐานะของบุคคล ถ้าจะใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับพิมพ์รายงานวิชาการ ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาทางการ หรือภาษาเขียนเพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นการแชทกับเพื่อนสนิทก็ใช้ภาษาพูดได้ ภาษาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มักพบคำที่สะกดผิด สะกดแบบมักง่าย คำผวน หรือคำแปลกๆ เนื่องจากผู้ส่งสารมีความเป็นอิสระในการเขียน จึงสามารถสะกดตามใจชอบ เช่น เด๋ว นู๋ น๊ะคะ พ้ม คิคิ งุงิ เพิ่ล หวัดดี เพ่ ข่ลเฬว ขุ่นแม่ เป็นต้น โดยจะสังเกตเห็นว่า ภาษาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น มีความพยายามใช้ตัวสะกดตรงมาตรา หรือเขียนแบบคำอ่าน การสังเคราะห์ความรู้จากสื่อต่างๆ การสังเคราะห์ความรู้ ทำได้โดยรวมรวมข้อมูลจากหลายๆ สื่อ แล้วนำมาเทียบเคียงกัน วิเคราะห์เป็นส่วนๆ เพื่อศึกษารายละเอียดแต่ละส่วนให้ถ่องแท้ เพื่อให้ระบุได้ว่าข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็น แล้วตัดส่วนที่เป็นความคิดเห็นออกไป เหลือเพียงข้อเท็จจริง จากนั้นจึงตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริง แล้วประมวลข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกันของสื่อเหล่านั้นขึ้นเป็นชุดความรู้หนึ่งๆ ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง มีหลักการวินิจฉัยคือ 1. เรื่องที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ 2. เนื้อหามีความสมจริงหรือไม่ 3. มีหลักฐานเชื่อถือได้หรือเปล่า 4. มีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อคิดเห็น หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา เช่น ความคิดเห็นจากผู้สื่อข่าว ความคิดเห็นของคนเขียนข่าว หรือคนรายงานข่าว ไม่เป็นข้อเท็จจริง และอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

  • ธรรมชาติของภาษา

    ภาษา เมื่อพิจารณาความหมาย สามารถแบ่งได้ 2 ความหมาย คือความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การแสดงออกเพื่อการสื่อความหมายในทุกรูปแบบ เช่น การพูด การเขียน ภาพ เสียง สัญลักษณณ์ สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบ หมายถึง การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายในรูปแบบการพูดเท่านั้น ประเด็นสำคัญของเนื้อหาเรื่องนี้ 1. ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ 2. เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย 3. ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัดแต่สามารถประกอบเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ 4. ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม 5. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง 1. ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ เพื่อใช้สื่อสารแทนวัตถุ ปรากฏการณ์ ความคิด และความรู้สึก ภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์แต่ละกลุ่มชนกำหนดขึ้นและตกลงให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เครื่องหมาย ในที่นี้คือ "เสียง" ภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติใดล้วนใช้เสียงช่วยสื่อความคิดความรู้สึกของผู้พูดไปยังผู้ฟัง ผู้ฟังฟังแล้วก็จะตีความหมายจากเสียง ที่ได้ยินส่วนชนชาติที่เจริญแล้ว ก็จะมีวิธีการถ่ายทอดเสียงเป็นตัวอักษร ใช้ตัวอักษรช่วยสื่อความหมายได้อีกวิธีหนึ่ง 2.เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย ในความเป็นจริง มนุษย์สามารถเปล่งเสียงต่างๆ ได้มากมายหลายเสียงแต่มนุษย์เลือกเสียงจำนวนหนึ่งมากำหนดความหมายแก่เสียงนั้นๆ เช่นคนไทยเลือกเสียง kh/ เสียงเอะ/กับเสียงวรรณยุกต์จัดวา ผสมกันเป็น /kha4: (ขา) เพื่อใช้เรียกอวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้าสำหรับยันกายและเดิน เราไม่อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดต้องเรียกอวัยวะส่วนนี้ว่า “ขา" เสียงจึงไม่สัมพันธ์กับความหมาย แม้ว่าจะมีคำจำนวนหนึ่งที่มีเสียงสัมพันธ์กับความหมายเช่นคำเลียนเสียง เพลังโครม ปัง กริ้ง แก๊ก, กา เหมียว ตุ๊กแก, หวูด ออด กริ่ง (รถ) ตุ๊กๆ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือคำที่มีเสียงสระหรือพยัญชนะในคำนั้นแนะความหมาย เช่น เก เซ เข เฉ เย้ เป้ เหเหล่ สระ/เอ/ ช่วยแนะให้เห็นภาพของความไม่ตรง เป็นต้น (ยกเว้น "เด่" ให้ภาพของความตรงแน่ว) แต่คำเหล่านี้มีเพียงส่วนน้อยในภาษา และเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่าคำเหล่านี้ต้องแล้วแต่การตกลงกันอีก การที่เสียงหนึ่งหมายความอย่างหนึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันของคนแต่ละกลุ่มแต่ละพวก ตัวอย่างข้อสอบ 1. คำว่า "ยาย" ในภาษากรุงเทพฯ มีใช้ต่างออกไปในภาษาถิ่นอื่น เช่น ภาษาลำพูนใช้ "อุ้ย" ภาษาสกลนครใช้ “แม่เฒ่า" ข้อใดอธิบายลักษณะของภาษาดังกล่าวข้างต้น ก. ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย ข. ภาษาถิ่นหมายถึงภาษาที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ ค. เสียงในภาษาไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับความหมาย ง. ลักษณะของภาษาถิ่นต้องแตกต่างกับภาษามาตรฐาน ตอบข้อ ค โจทย์ข้อนี้สร้างตัวเลือกเรื่องภาษาถิ่นมาลวง ข้อความในโจทย์ไม่ได้กล่าวถึง ลักษณะภาษาถิ่นที่แตกต่างกับภาษามาตรฐาน (ตัดตัวเลือกข้อ 4) ไม่ได้นิยามภาษาถิ่นว่าหมายถึงภาษาที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ (ตัดตัวเลือกข้อ 2) ส่วนตัวเลือกข้อ 1 เนื้อความ พูดกว้างเกินไป ไม่ใช่คำตอบ จำไว้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรียกแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะแตกต่างกันตามภูมิภาค คือภาษาถิ่น หรือแตกต่างกันตามประเทศ คือภาษาแต่ละภาษา เป็นแนวคิดเรื่องเสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย 3.ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัด แต่สามารถประกอบเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ ภาษามีระบบ ทุกภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย ซึ่งมีการใช้อยู่ในระบบ คือมีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ มนุษย์สามารถเรียนและใช้ภาษาได้เพราะภาษามีระบบ "ระบบเสียง" - ผู้ใช้ภาษาแต่ละภาษาเลือกที่จะใช้เสียงเพียงจำนวนจำกัดมาใช้สื่อความหมาย เช่น ภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะต้น 21 หน่วยเสียง เสียงสระ 21 หน่วยเสียง เสียงพยัญชนะท้าย 9 หน่วยเสียง และเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง นอกจากนี้เสียงที่ถูกเลือกใช้ในแต่ละภาษาก็ยังมีขอบเขตอีก เช่น เสียง/n/ ในภาษาไทยปรากฏได้ทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ นาง นก น้อย / เรียน เขียน อ่าน แต่เสียง /AI ในภาษาไทยปรากฏได้ในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น ฟุน ไฟ ฟอน (กอล์ฟ เราออกเสียง เป็น /ก็อบ/) "ระบบความหมาย" ในแต่ละภาษามีไวยากรณ์คือระบบการจัดเรียง ความสัมพันธ์ของถ้อยคำเพื่อใช้สื่อความหมายให้เข้าใจกันได้ จำไว้ว่า ทุกภาษามีหน่วยเสียงจำนวนจำกัด แต่หน่วยเสียงที่จำกัดนี้สามารถนำมาประกอบกันเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นไม่รู้จบ เป็นหน่วยพยางค์หน่วยคำ ประโยค ข้อความ ตัวอย่างข้อสอบ 2. ก. แม่ซื้อผ้า ข. คุณแม่ซื้อผ้าให้น้อง ค. คุณแม่ซื้อผ้าสีแด่งให้น้อง ง. คุณแม่ซื้อผ้าสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง จ. คุณแม่ท่านใจดีได้ซื้อผ้าลายสีแดงให้น้องคนเล็ก 3 เมตรครึ่ง ตัวอย่างประโยคข้อ ก.-จ. แสดงลักษณะภาษาชัดเจนที่สุดตามข้อใด ก. หน่วยในภาษาเกิดขึ้นจากการตกลงของกลุ่ม ข. หน่วยในภาษาประกอบกันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นได้ ค. หน่วยในภาษาประกอบขึ้นจากคำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ง. หน่วยในภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตอบข้อ ข จะเห็นได้ว่าข้อความในโจทย์ค่อยๆ มีจำนวนคำเพิ่มมากขึ้นๆ เป็นลำดับช่วยสื่อความหมายกระจ่างขึ้นตัวอย่างภาษาที่กำหนดมาให้จึงเป็นเรื่องของการประกอบหน่วยภาษาที่ใหญ่ขึ้นๆ 4. ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาเป็นพฤติกรรมทางสังคม มนุษย์ต้องเรียนรู้เหมือนกับพฤติกรรมอื่นๆ ในสังคม เช่น การสวมเสื้อ การกิน การใช้ส่วมเป็นต้น นอกจากเรียนรู้แล้ว ยังต้องถ่ายทอด สืบทอดต่อไปเป็นรุ่นๆ ตัวอย่าง : ถ้าเด็กคนใดไปเกิดแล้วโตอยู่ในป่ากับสัตว์โดยไม่มีผู้ใหญ่ให้เลียนแบบจะไม่สามารถพูดภาษามนุษย์ได้ หรือเด็กไทยที่ไปเติบโตอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่เกิด จะพูดภาษาไทยไม่ได้เลยหากไม่มีใครสอนพูดภาษาไทย ตัวอย่างข้อสอบ 3. การที่นักร้องนักแสดงไทยหลายคนที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ และพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจนแสดงให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของภาษาตามข้อใด ก. ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม ข. ภาษาย่อมแตกต่างกันตามเชื้อชาติ ค. ภาษามักจะสะท้อนสภาพของสังคมนั้นๆ ง. ภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม ตอบข้อ ง ให้สังเกตว่าข้อความในโจทย์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องภาษาเปลี่ยนแปลง (ตัดตัวเลือก ข้อ ก) ไม่ได้กล่าวถึงลักษณะแตกต่างทางภาษา (ตัดตัวเลือกข้อ ข) และไม่ได้กล่าวถึงภาษาสะท้อนสังคม (ตัดตัวเลือกข้อ ค) กรณีที่โจทย์กำหนดนี้ คือแนวคิดเรื่องภาษาเป็นวัฒนธรรมทางสังคม กล่าว คือ ภาษาต้องเรียนรู้ เมื่อเด็กไทยเกิดและเติบโตในต่างประเทศย่อมต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้นๆ แม้จะมีผู้สอนให้พูดภาษาไทย แต่สำเนียงของภาษาต่างประเทศที่ใช้พูดใน ชีวิตประจำวันย่อมมีอิทธิพลต่อการออกเสียงภาษาไทย ทำให้พูดภาษาไทยสำเนียงต่างประเทศที่ฟังแปร่งหู ตัวอย่างข้อสอบ 4. ข้อใดไม่แสดงวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ก. กับข้าวไทยส่วนใหญ่มักมีรสเผ็ด ข. ดิฉันปวดศีรษะจึงขออนุญาตลาหยุดครึ่งวัน ค. บิดาของกามนิตเป็นพ่อค้าใหญ่ของกรุงอุซเชนี ง. สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ทางโทรทัศน์ ตอบข้อ ก โจทย์ข้อนี้ให้สังเกตว่าตัวเลือกที่ ข,ค และ ง มีคำที่แสดงระดับภาษา ข้อ ข-ปวดศีรษะ ข้อ ค-บิดา และข้อ ง-ประทานพร ระดับภาษาเป็นลักษณะทางภาษาประการหนึ่งที่แสดงวัฒนธรรมการใช้ภาษา การแบ่งภาษาให้เป็นระดับต่างๆ เพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะแก่บุคคล กาลเทศะนั้นถือเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่คำนึงถึงระดับบุคคลความเหมาะสมของสถานที่ เวลาในการสื่อสาร ส่วนตัวเลือกข้อ ก เป็นข้อมูลแจ้งให้ทราบไม่มีถ้อยคำใดแสดงให้เห็นลักษณะทางภาษาที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม 5.ภาษามีการเปลี่ยนแปลง เมื่อภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอสาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการใหญ่ๆ คือ 1. การพูดจาในชีวิตประจำวัน ในการพูดจาตามปกติ ผู้พูดอาจจะไม่พูดให้ชัดเจนทุกถ้อยทุกคำ เสียงอาจจะกลาย คือมีการกลืนเสียง หรือมีการกร่อนเสียงเกิดขึ้น เช่น อย่างนี้ กลืนเสียงเป็น อย่างงี้ อันหนึ่ง กร่อนเสียงเป็น อนึ่ง นานๆ เข้าคำที่เปลี่ยนไปก็ติดอยู่ในภาษา คำเดิมก็อาจจะค่อยๆ สูญไปหรืออาจจะใช้ในความหมายที่ต่างจากเดิม ตัวอย่างที่พบเห็นเสมอหนังสือ(นัง - สื่อ) มหาวิทยาลัย(มหา - ลัย) สนามหลวง(หนาม - หลวง)โทรศัพท์( โท - ศัพท์) โรงพยาบาล(โรง -บาล)พยายาม(พยาม) 2. อิทธิพลของภาษาอื่น เมื่อมีการยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ เราอาจพยายามดัดแปลงให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาของเรา หรือบางครั้งยังคงใช้ภาษาเดิมซึ่งมีอิทธิพลทำให้ภาษาของเราเองเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงมีดังต่อไปนี้ 1) มีหน่วยเสียงเพิ่มขึ้น หน่วยเสียง /f/ สามารถปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์ได้ เช่น กราฟ ดราฟต์ภาษาไทยมีหน่วยเสียงควบกล้ำเพิ่มขึ้นจากที่เคยมีอยู่จำกัด เช่น /dr/-ดรัมเมเยอร์, /fr/ - ฟรี, /br/- บรีส 2) มีคำศัพท์มากขึ้น ภาษาไทยปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้นอย่างรวดเร็วและใช้ในทุกวงการ เช่น เทคโนโลยี คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ คอมพิวเตอร์ บูติก ยูนิต 3) มีรูปประโยคเปลี่ยนไป รูปประโยคภาษาไทยปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษเป็นอันมาก เช่นสองข้อความนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียด, ข้าพเจ้าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น,เรื่องนี้ง่ายต่อการเข้าใจ, ดาราผู้นี้มากด้วยความสามารถ 4) มีอักขรวิธีเปลี่ยนไป เครื่องหมายบางอย่างอาจเปลี่ยนหรือเพิ่มตำแหน่งที่ปรากฏได้ เช่น เครื่องหมายทัณฑฆาต แต่เดิมปรากฏบนตัวอักษรสุดท้ายที่ไม่ออกเสียงเสมอไม่ว่าคำคำ นั้นจะมีเสียงพยัญชนะเสียงอื่นไม่ออกเสียงก็ตาม เช่น พราหมณ์ เราไม่ใส่เครื่องหมาย ทัณฑฆาตกำกับตัว "ห' แม้ว่าจะไม่ออกเสียง /n/ แต่ปัจจุบัน เครื่องหมายนี้สามารถปรากฏบนตัวอักษรกลางคำ เช่น กอล์ฟ หรือปรากฏมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้ เช่น มาร์กซ์ 3. สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เมื่อมีสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ต้องมีศัพท์ใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้สิ่งที่เคยมีอยู่เดิมเมื่อเลิกใช้ก็อาจจะทำให้คำที่เรียกสิ่งนั้นสูญไปจากภาษาหรือหากคำนั้นยังคงอยู่ คนรุ่นใหม่ก็อาจไม่รู้ความหมาย เช่น เมื่อเด็กรุ่นใหม่รู้จักแต่อุปกรณ์เครื่องครัวทันสมัยอย่างหม้อไฟฟ้า เขาก็จะไม่รู้จักการ "ดงข้าว" ซึ่งเป็นการหุงข้าวแบบเดิม การเปลี่ยนแปลงทางภาษาเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกภาษา ภาษาใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้วจะถือว่าเป็น "ภาษาตาย" เช่น ภาษาละติน ภาษาสันสกฤต ตัวอย่างข้อสอบ 5. ลูก : แม่ขา! สีน้ำตาลเป็นสียังไงคะ แม่ : สีเหมือนกระเป๋าของแม่ (ชี้ให้ดูกระเป๋าสีน้ำตาล ลูก : ไม่ใช่ค่ะ! สีน้ำตาลเป็นสีขาว แม่ :! การที่ลูกเข้าใจว่า "สีน้ำตาลหมายถึงสีขาว" แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงความหมายของภาษาที่เนื่องมาจากสาเหตุใด ก. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ข. การพูดจากันในชีวิตประจำวัน ค. อิทธิพลของภาษาอื่น ง. การเรียนภาษาของเด็ก ตอบข้อ ก โจทย์ข้อนี้เป็นการสมมุติกรณีขึ้นมา การที่เด็กคนนี้เข้าใจว่าสีน้ำตาลเป็นสีขาวอนุมานได้ว่าสืบเนื่องจากเด็กคนนี้เกิดมาไม่เคยรู้ว่าสีน้ำตาลเป็นสีของ "น้ำของตาล" เกิดมา ก็เห็นแต่เกล็ดน้ำตาลทรายที่ฟอกเป็นสีขาว และได้ยินทุกคนเรียก "น้ำตาล"เด็กคนนี้ย่อมเข้าใจว่าสีน้ำตาลเป็นสีขาวตามสิ่งแวดล้อมของตน 6. ข้อใดแสดงว่าภาษาไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ก."มอง" ภาษาเหนือใช้ "ผ่อ" ภาษาอีสานใช้"เบิ่ง" และภาษาใต้ใช้ "แล" ข. เรือนรัก" ในภาษากรุงเทพฯ ออกเสียงเป็น"เฮือน ฮัก'ในภาษาถิ่นเหนือ ค."ส่งสินค้าออก" ปัจจุบันใช้ว่า "ส่งออกสินค้า" ง. "ดิฉัน" แต่เดิมทั้งผู้หญิงและผู้ชายใช้เป็นสรรพนามแทนตัว ตอบข้อ ค ตัวเลือกข้อ 1 และ 2 เป็นเรื่องของเสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย ข้อ 4 ดูเหมือนเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา แต่ข้อความนี้ให้ข้อมูลเพียงแค่ว่า คำ ดิฉันนั้นแต่เดิมใช้เป็นสรรพนามทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ยังไม่ได้บอกว่าปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไปอย่างไร ข้อ 3 ระบุชัดเจนว่าส่งสินค้าออก ปัจจุบันใช้ว่าส่งออกสินค้า แสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้คำ ส่งออก ในปัจจุบันใช้เป็นคำประสม แทนคำภาษาอังกฤษว่า export 7. ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา ก. เพ็ญ" เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร มีความหมายว่า "เต็ม" ข. "วิสัยทัศน์" เป็นศัพท์บัญญัติของคำ "vision" ในภาษาอังกฤษ ค. "พอ" เมื่อเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็น "พ่อ" จะมีความหมายต่างไป ง. เพื่อ" เดิมใช้เป็นคำบุพบทบอกเหตุ ปัจจุบันใช้เป็นคำบุพบทบอกจุดมุ่งหมาย ตอบข้อ ค ข้อ ค เป็นเรื่องของไวยากรณ์ ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ และเสียงวรรณยุกต์ มีไว้แยกความหมายของคำ ข้อ ง ระบุชัดเจนว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพื่อ แต่เดิมใช้เป็นคำบุพบทบอกเหตุ เช่น พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน แปลว่า เหตุที่ชื่อพระรามคำแหง เพราะได้ทำศึกชนะขุนสามชน ส่วนข้อ ก และ ข การยืมคำภาษาต่างประเทศและการบัญญัติศัพท์ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นในภาษา เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาด้วย ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย 1. มีศัพท์บัญญัติเกิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษ เช่น กระสวนประโยค (pattern) จินตภาพ (imagery) ประชาธิปไตย (democracy) บรรณาธิการ (editor) มาตรฐาน (standard) รัฐสภา (parliament) สัมมนา (seminar) * มีศัพท์บัญญัติบางคำที่ไม่นิยมใช้ คือ "ไม่ติดตลาด"เช่น สังกัปป์ แทน concept ซึ่งมักจะใช้ว่า ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ หรือ เจตนคติ มากกว่า * มีศัพท์บัญญัติบางคำที่ใช้ผิดจนแพร่หลาย คือ "ศัพท์ผิดติดตลาด" เช่นภาพพจน์ ที่ถูกต้องเป็นศัพท์บัญญัติของ figure of speech หมายถึง การพรรณนาหรือบรรยายอย่างแจ่มแจ้งทางภาษาจนผู้อ่านหรือผู้ฟังบังเกิดความชาบซึ้ง แลเห็นเป็นภาพ ชัดเจนในห้วงความคิดคำนึง แต่ปัจจุบันมักใช้ ผิด คือใช้แทนคำว่า image กันมาก เช่นภาพพจน์ของตำรวจดีขึ้น การโฆษณาสินค้าขายภาพพจน์ของผู้ผลิตสินค้าเสียโดยมากในที่นี้ควรใช้คำว่า ภาพลักษณ์ คือภาพที่ถูกประกอบสร้างขึ้นให้คนส่วนมากเห็นตามนั้นเช่น ภาพลักษณ์ของนักการเมือง ภาพลักษณ์ของสถาบัน เป็นต้น 2. มีคำคะนอง (คำสแลง) เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่นเด็กแนว (คนมีแนวทางเฉพาะตัว ซึ่งอาจแสดงออกมาในด้านเครื่องแต่งกาย ทรงผม ทัศนคติ การดำเนินชีวิต)กิ๊ก(คู่ควงที่ไม่เปิดเผยหรือแสดงตนเป็นทางการ)เบนโล(ผู้หญิงที่ท้องก่อนแต่งงาน) แอ๊บแบ๊ว(ผู้หญิงที่ทำตัวเหมือนจะน่ารัก ทำให้ตัวเองดูเด็กลง)เข้าวิน(กางเกงในเข้าร่องก้น) สตรอเบอรี (แปลงคำมาจาก ตอแหล คือพูดไม่จริง พูดจามีจริต) 3. มีการสร้างคำใหม่ขึ้น เช่น คนชายขอบ, คนรากหญ้า, คาเฟ่เน็ต 4. มีสำนวนติดปากเกิดขึ้นใหม่ๆ เช่น ฟันธง, รักนะ เด็กโง่, โอ้พระเจ้าจอร์ชมันยอดมาก,ถูกต้องนะคร้าบ, พระเจ้าช่วยกล้วยทอด 5. มีคำที่เปลี่ยนหน้าที่เปลี่ยนความหมายหรือเปลี่ยนบริบท เช่น ธนาคารเลือด ธนาคารข้าว ธนาคารแว่น (ธนาคารความหมายเดิมใช้เฉพาะสถานที่ฝากสะสมเงินเท่านั้น) * นัดอร่อยของคนทันสมัย (อร่อยปกติใช้เป็นคำขยายเท่านั้น ในที่นี้ใช้เป็นคำนาม) 6. มีคำต่างสมัยที่เปลี่ยนความหมายหรือเปลี่ยนบริบทไปแล้ว เช่น เลือกที่สาวฉกรรจ์ มีรูปเป็นอันงามหนึ่ง ที่เด็กดรุณพึ่งเจริญแรกรุ่นนั้นหมู่หนึ่ง (“สาวฉกรรจ์" ในที่นี้คงหมายถึง สาวใหญ่หรือสาวที่มีอายุสักหน่อย ไม่ใช่สาว บึกบีน สาวนักรบ ตามความหมายปัจจุบันที่ใช้เฉพาะกับผู้ชาย เป็น "ชายฉกรรจ์" ซึ่งหมายถึงชายแข็งแรงสมบูรณ์) พระองค์จะใคร่ชันสูตร (กองทัพ) ให้รู้แน่ ("ซันสูตร" ในที่นี้ใช้หมายถึง ตรวจกองทัพ ปัจจุบันเราใช้คำนี้ในบริบทแคบลงคือ "ซันสูตรศพ" เท่านั้น) และนางนั้นขายของดีมีกำไรมีมากเพราะคนพอใจมาซื้อที่ร้านนั้นติดจะซุกชุม (ปัจจุบันเราใช้คำว่า "หนาแน่น" หรือ "คึกคัก" ในความหมายว่ามีคนมาอุดหนุนมาก ส่วน "ซุกชุม" ปัจจุบันใช้ในบริบทที่แคบลง คือ ใช้ในความหมายไม่ดี โจรซุกชุมผู้ก่อการร้ายชุกชุม) เมื่อชั่วพ่อก กูบำเรอแก่พ่อก กูบำเรอแก่แม่ก...พ่อกูตาย ยังพี่กกพร่ำ บำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู("บำเรอ" ในที่นี้ใช้ในความหมายว่าปรนนิบัติรับใช้ ซึ่งมีปริบทกว้าง ครอบคลุม ถึงการปรนนิบัติพ่อแม่และพี่ แต่ในปัจจุบัน บำเรอ ใช้ในความหมายว่าปฏิบัติให้เป็นที่พอใจ ทำนองบำเรอความสุข โดยเฉพาะความสุขทางโลกีย์และใช้เรียกหญิงที่บำเรอความสุขว่านางบำเรอ) กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี ("เหิมหื่น" ในกาพย์เห่เรือนี้มีความหมายกลางๆ ว่ายินดีอย่างแรงกล้าหรือฮึกเหิม ปัจจุบัน หื่น มีความหมายแคบลง แปลว่ามีความอยากอย่างแรงกล้าและมักใช้ในทางกามารมณ์) ครับ

  • การวิเคราะห์สาร

    การอ่านวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านอย่างละเอียดที่ต้องใช้กระบวนความคิดไตร่ตรองหาเหตุผล พิจารณา แยกแยะองค์ประกอบต่างๆ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมาอธิบายเรื่องนั้น ประเมินและตัดสินใจหาคำตอบที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หลักการวิเคราะห์ 1.พิจารณาว่าเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด เช่น นิทาน เรื่องยาว ร้อยกรอง บทละคร เรื่องสั้น บทความ 2. แยกเนื้อเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 3. แยกพิจารณาให้ละเอียดว่า เนื้อหาประกอบด้วยอะไรบ้าง 4. พิจารณาว่าใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร 5. ลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผลคือ ลำดับจาเหตุไปหาผล หรือจากผล ไปหาเหตุ หรือตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ความสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย สิ่งที่ใก้ลตัวไปหาไกลตัวจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวา จากเหนือไปใต้หรือใต้ไปเหนือ จากสถานที่ใหญ่ไปหาสถานที่เล็กจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เป็นต้น 6. พิจารณาความคิดที่ผู้เขียนต้องสื่อให้ผู้อ่านทราบและความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องหรือข้อความนั้น เมื่ออ่านพิจารณาข้อความ บทความ เนื้อเรื่อง เสร็จแล้วจึงตอบคำถาม ข้อควรระวังคือ คำตอบที่ให้เลือกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก บางครั้งดูเหมือนว่าคำตอบเป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ จึงต้องใช้วิจารณญาณ เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด การวิเคราะห์เรื่องที่อ่านทุกชนิด สิ่งที่จะละเลยเสียมิได้ก็คือ การพิจารณาถึงการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาว่ามีความเหมาะสมกับระดับและประเภทของงานเขียนหรือไม่ เช่น ในบทสนทนาก็ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน ควรใช้สำนวนให้เหมาะสมกับสภาพจริงหรือเหมาะแก่กาลสมัยที่เหตุการณ์ในหนังสือนั้นเกิดขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การอ่านวิเคราะห์จึงต้องใช้เวลาอ่านมาก และยิ่งมีเวลาอ่านมากก็ยิ่งมีโอกาสวิเคราะห์ได้ดีมากขึ้น การอ่านในระดับนี้ ต้องรู้จักตั้งคำถามและจัดระเบียบเรื่องราวที่อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องและความคิดของผู้เขียนต้องการ การวิเคราะห์การอ่านประกอบด้วย รูปแบบ กลวิธีในการประพันธ์ เนื้อหาหรือเนื้อเรื่องและสำนวนภาษา กระบวนการวิเคราะห์ 1.ดูรูปแบบของงานประพันธ์ว่าใช้รูปแบบใด อาจเป็นนิทาน บทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น บทร้อยกรอง หรือบทความจากหนังสือพิมพ์ 2.แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร 3.แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไปว่าประกอบกันอย่างไร หรือประกอบด้วยอะไรบ้าง 4.พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนให้กลวิธีเสนอเรื่องอย่างไร

  • การโต้แย้ง

    การโต้แย้ง คือ การแสดงความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากความคิดเห็นที่ได้รับฟังหรืออ่านมา โดยมุ่งอธิบายให้เห็นถึงความบกพร่อง ความผิดพลาดของเหตุผลหรือข้อมูลที่จะโต้แย้งด้วยนั้น แล้วสนับสนุนความคิดเห็นของตนเองด้วยเหตุผลหรือข้อมูลที่ดีกว่า ความสำคัญในการโต้แย้งนั้นคือ “ประเด็น” ของการโต้แย้ง เราต้องจับประเด็นหรือหัวเรื่องการโต้แย้งให้ถูก สมมติว่าเราอ่านบทความที่เสนอว่า “มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช” แล้วเราไม่เห็นด้วย เราต้องโต้แย้งในประเด็นที่ว่า ทำไมมนุษย์จึงไม่เป็นสัตว์กินพืช ไม่ใช่ไปโต้แย้งว่า สัตว์กินเนื้อมีวิวัฒนาการมากกว่าสัตว์กินพืช เพราะถึงแม้อาจจะดูเกี่ยวข้องกัน แต่เรื่องหลังนั้นต้องอาศัยเหตุผลที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าสัตว์อื่นเข้ามาประกอบ ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นการโต้แย้งใหม่ คือ “มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าสัตว์อื่นหรือไม่” การโต้แย้งในลักษณะนี้ จึงทำให้เกิดการแตกประเด็นและหลงประเด็นในที่สุด ซึ่งเราจะไม่ได้ข้อสรุปในประเด็นตั้งต้นที่ต้องการจะโต้แย้งจริงๆ หลักในการโต้แย้ง 1. อ่านแล้วจับประเด็นให้ได้ 2. ให้เหตุผลว่าทำไมเรื่องที่อ่านจึงไม่สมเหตุสมผล (ชี้จุดอ่อน) 3. แสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่เราคิดว่าถูกต้องมากกว่า เมื่อเราอ่านจับประเด็นได้แล้ว ให้เราแยกการให้เหตุผลของประเด็นที่จะโต้แย้งเป็น 2 ส่วน คือ ข้ออ้าง และข้อสรุป ข้ออ้าง คือ สาเหตุ หรือข้อเท็จจริงบางอย่างที่ยอมรับกันทั่วไปว่าจริง หรือตรวจสอบได้ ข้อสรุป คือ ผลที่เกิดขึ้นจากสาเหตุในข้ออ้างนั้น อาจยังไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ แต่คาดเดาได้ว่าจะเป็นเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น ข้ออ้าง “ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี” ข้อสรุปที่หนึ่ง “คนที่นับถือศาสนาทุกคนเป็นคนดี”ข้อสรุปที่สอง “คนที่ไม่มีศาสนาทุกคนไม่เป็นคนดี” การให้เหตุผลก็คือ การเชื่อมโยงจากข้ออ้างนำไปสู่ข้อสรุป แต่การให้เหตุผลก็ผิดพลาดได้เสมอ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะข้ออ้างที่ยกมาไม่เป็นจริง อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะวิธีการอ้างนั้นไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น หากเราต้องการโต้แย้ง ก็ต้องพิจารณาว่า ความผิดพลาดของการอ้างเหตุผลนั้นอยู่ที่ใด ดังตัวอย่างข้างต้น เราอาจแย้งได้ดังนี้ แย้งที่ข้ออ้าง เช่น “อาจไม่ใช่ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี” หรือ “คำว่าคนดีมีความคลุมเครือ กล่าวคือ นิยามของคนดีในศาสนาหนึ่ง อาจไม่เหมือนกับศาสนาอื่น หรืออาจไม่มีนิยามของคนดีที่เป็นสากล” แย้งที่วิธีการอ้าง เช่น ข้อสรุปที่หนึ่ง “ไม่มีหลักประกันว่า คนที่นับถือศาสนาจะทำตามคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด คนที่นับถือศาสนาอาจทำเรื่องไม่ดีได้ในบางครั้ง จึงไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างข้ออ้างและข้อสรุป” ข้อสรุปที่สอง “ข้อสรุปไม่ได้เป็นผลจากข้ออ้าง หรือไม่มีความเชื่อมโยงกันเลย” ข้อควรระวังในการเขียนโต้แย้ง ข้อควรระวังในการเขียนโต้แย้ง ไม่ควรเขียนโต้แย้งด้วยความเห็นที่รุนแรงจนก่อให้เกิดความแตกแยก ต้องระมัดระวังในการใช้ภาษา ไม่ใช้คำที่เสียดสี เยาะเย้ย ดูถูกหรือดูหมิ่นผู้เขียน ไม่เขียนด้วยด้วยอารมณ์ ไม่พาดพิงให้เกิดความกระทบกระเทือนแก่ผู้อื่น เราควรพิจารณาโต้แย้งที่เหตุผลเป็นสำคัญเท่านั้น และควรเขียนเชิงสร้างสรรค์

  • การตอบคำถามจากการอ่าน

    การตอบคำถามจากการอ่านวรรณคดี 1. อ่านอย่างพินิจพิจารณา คือ การอ่านโดยใช้การวิเคราะห์ อ่านตั้งแต่ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง คำนำ คำนิยม สารบัญ ไปจนถึงเนื้อหาและบรรณานุกรม รวมถึงประวัติของผู้เขียนซึ่งจะทำให้เข้าใจเนื้อหา มูลเหตุของการแต่ง แรงบันดาลในการแต่งและสิ่งที่แฝงเร้นภายในหนังสือ 2. ค้นหาความหมาย ความหมายมี ๒ ลักษณะ คือ ความหมายพื้นฐาน คือความหมายตามตัวอักษร และความหมายแฝงเร้น ผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากข้อความที่ผู้แต่งได้แฝงเร้นเอาไว้ โดยแลกเปลี่ยนกับผู้รู้หรือผู้ที่อ่านวรรณคดีเรื่องเดียวกัน แล้วจัดลำดับใจความสำคัญของเรื่องว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน ผลเป็นอย่างไร 3. รับรู้อารมณ์ของบทประพันธ์ คือการพยายามรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนที่สอดแทรกลงไปในบทประพันธ์นั้น ถ้าผู้อ่านรับรู้อารมณ์ความรู้สึกตามเจตนาของผู้ส่งสาร เมื่ออ่านออกเสียงหรืออ่านทำนองเสนาะจะทำให้บทประพันธ์นั้นมีความไพเราะมากขึ้น 4. การค้นหาความหมายของบทประพันธ์ 4.1 ค้นหาความหมายตามตัวหนังสือ คือ คำใดที่ไม่เข้าใจความหมายให้ค้นหาในคำอธิบายศัพท์พจนานุกรมหรืออภิธานศัพท์ 4.2 ค้นหาความหมายแฝง ความหมายแฝงคือ ความหมายที่ต้องตีความซึ่งผู้แต่งใช้สัญลักษณ์เพื่อเสนอสารอันเป็นความหลักของผู้แต่ง 4.3 ค้นหาข้อคิดที่เป็นประโยชน์ในตัวบทวรรณคดี กล่าวคือ การค้นหาความรู้สึกของผู้แต่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงกับความรู้สึกของผู้อ่าน แต่ผู้อ่านรู้สึกอย่างนั้นเพราะมีเหตุผลอย่างไรและมีคำใดที่บ่งชี้ให้ผู้อ่านคิดอย่างนั้น 5. พิจารณาว่าผู้แต่งใช้กลวิธีใดในการแต่งคำประพันธ์ สามารถค้นหาจากการสร้างสรรค์ของกวีดังนี้ 5.1 การใช้บรรยายโวหาร คือการใช้คำอธิบายเรื่องราวรายละเอียดให้เข้าใจตามลำดับเหตุการณ์ 5.2 การใช้พรรณนาโวหาร คือ การอธิบายความหมายโดยสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึก หรือให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้งของผู้แต่งลงไปในเรื่องนั้นๆ ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจคล้อยตามไปกับบทประพันธ์ 5.3 การใช้เทศนาโวหาร คือ การกล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ 5.4 การใช้สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างหรือเรื่องราวมาประกอบเพื่อเพิ่มรายละเอียดหรือส่งที่น่ารู้น่าสนใจลงไปในข้อความทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น 5.5 การใช้อุปมาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวเปรียบเทียบ มักใช้คู่กับอุปไมย อุปมาเป็นสิ่งที่ยกข้อความมาเปรียบ ส่วน อุปไมย คือ ข้อความที่เปรียบกับสิ่งอื่นให้เข้าใจแจ่มแจ้ง 6. พิจารณาความงามและความไพเราะของภาษา คือ พิจารณาการเลือกใช้คำ การสรรคำและการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้ต่อเนื่องไพเราะเหมาะสมได้จังหวะถูกต้องตามโครงสร้างภาษา ก่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์และเห็นภาพพจน์

bottom of page